บัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง,Victoria waterlily,Victoria amazonica,giant waterlily .
บัวใบใหญ่ สีเขียวท้องใบแดงมีหนาม ขอบใบตั้ง เค้าคือบัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง นั่นเองครับ

ชื่อไทย : บัววิกตอเรีย
ชื่อสามัญ : victoria waterlily
ชื่อวิทยาศาสตร์ : victovia amazonica (poeppig) sowerby
ชื่ออื่นๆ : บัวกระด้ง (giant waterlily)
วงศ์ : nymphaeaceae
สกุล : victroria
ถิ่นกำเนิด : เป็นบัวพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้
ปีที่ค้นพบ : ค.ศ. 1832
ผู้ค้นพบ : พบโดยนักสำรวจชาวเยอรมันชื่อ Haenke
ประวัติ : Mr.Bridges ชาวอังกฤษ ได้ทยอยส่งเมล็ดบัวชนิดนี้ไปปลูกที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ.1840 และค.ศ.1849 Mr.Paxton คนสวนของ Duke of Devonshire ที่ Chatsworth เป็นคนแรกที่ปลูกบัววิกตอเรีย,บัวกระด้งจนได้ดอก ส่วนบัววิกตอเรีย,บัวกระด้งในไทยนั้น ได้นำเข้ามาในประเทศไทยโดยพระยาปฏิพัทธ์ภูบาลในปี พ.ศ.2435

ลักษณะโดยทั่วไปของบัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง เป็นบัวในสกุล Victoria จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ประมาณ 6 ฟุต ลอยบนผิวน้ำ ในธรรมชาติ หากมีเหตุการณ์น้ำหลาก หรือน้ำขึ้นกระทันหันนั้น บัววิกตอเรีย,บัวกระด้งจะสามารถลอยขึ้นตามระดับน้ำที่เปลี่ยนไป โดยใบจะดึงลำต้นที่ฝังอยู่ในดินขึ้นและลอยตามน้ำไป ทำให้ใบบัวไม่จมน้ำตาย และจะค่อยๆหย่อนรากฝังลงดินอีกครั้ง

ลักษณะของดอกบัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง
สีกลีบดอก : บานวันแรกในช่วงเช้าสีขาว ช่วงบ่ายเปลี่ยนเป็นสีชมพู และวันที่ 2 และ 3 จะเป็นสีบานเย็นอมม่วงแดง
เกสร : อับเรณูสีแดงม่วง ก้านชูอับเรณูโคนสีเหลือง ปลายสีแดง เกสรเพศเมียสีเหลือง
ทรงกลีบดอก : โคนกว้างปลายเรียวสอบเกือบหักมุม
ทรงดอกบาน : แผ่ค่อนวงกลม
กลีบดอก : ซ้อนมาก (33 – 44 กลีบ)
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกบัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง : 20 – 30 เซนติเมตร ดอกของบัววิกตอเรีย,บัวกระด้งนั้นจะมีกลิ่นหอมในเวลากลางคืน และเมื่อติดเมล็ดจะมีเมล็ดมาก เมล็ดกลมคล้ายถั่วลันเตา สีเขียวเข้มออกดำอมน้ำตาล

การขยายพันธุ์บัววิกตอเรีย,บัวกระด้งนั้นจะใช้เมล็ดเป็นหลัก เพราะมีเมล็ดเยอะ เพาะง่าย บัววิกตอเรีย,บัวกระด้งเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดเต็มวัน จะทำให้โตเร็ว ขนาดของพื้นที่ปลูกก็มีผลกับขนาดของต้นบัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง พื้นที่ปลูกยิ่งใหญ่เท่าไหร่ บัววิกตอเรีย,บัวกระด้งนั้นยิ่งมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นตาม โดยใบของบัวกระด้งนั้นสามารถใหญ่ได้ถึงเกือบ 2 เมตรเลยทีเดียวครับ

โรคและแมลงศัตรู
โรค : โรคใบเน่า , โคนเน่า -อาการ : ที่ใบจะมีจุดสีเหลืองๆ และกลางเป็นสีดำ เปื่อยเน่าทั่วทั้งใบ
แมลง : เพลี้ยอ่อน จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบ เต่า ปลา จะกัดกินราก และโคนต้น การป้องกัน กำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทดูดซึม โดยผสมกับสารจับใบ หรือจะห่อพร้อมปุ๋ย ฝังลงไปบริเวณโคนต้น

บัววิกตอเรีย,บัวกระด้งยังมีอีกสายพันธุ์คือ บัววิกตอเรีย สายพันธุ์อังกฤษ (Victoria cruziana) เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า คือมีเส้นผ่านสูนย์กลางราว 1.5 เมตร แต่มีขอบกระด้งสูงราว 1 คืบ ออกดอกในช่วงปลายฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝน คือ ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
ใบอ่อนของบัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง,Victoria waterlily
ขนาดของใบบัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง,Victoria waterlily จากรูปที่ผมถ่ายมานี้ยังเป็นขนาดเล็กอยู่นะครับ ยังโตไม่เต็มที่ครับ บัววิกตอเรีย,บัวกระด้งที่เห็นในรูปเพาะมาได้ประมาณ 4 เดือนครับ ใบของบัววิกตอเรีย,บัวกระด้งนั้นสามารถใหญ่ได้เกือบ 2 เมตรเลยนะครับ
บัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง,Victoria waterlily ในบ่ออนุบาล ถ้าปลูกบัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง เบียดกับบัวอื่นๆอย่างในรูป ต้นเค้าจะไม่ใหญ่นะครับ ควรจะขยับขยายที่ให้เค้าหน่อยครับ
บัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง,Victoria waterlily ใบจะมีหนาม แข็ง และแหลมคมมากนะครับ ใต้ท้องใบ ก้านใบ ก็มีเต็มไปหมดเลยนะครับ ใบอ่อนจะสีออกแดงครับ
บัววิกตอเรียชนิดดอกสีม่วง,บัวกระด้งสีม่วง,Victoria waterlily,Victoria water lily violet บัววิกตอเรียชนิดดอกสีม่วง,บัวกระด้งสีม่วงต้นนี้ถ้าสนใจจริงๆก็ติดต่อเราได้นะครับ ไม่ได้หากันได้ง่ายๆนะครับสำหรับเจ้าต้นนี้ :)
ขนาดของดอกบัววิกตอเรียชนิดดอกสีม่วง,ดอกบัวกระด้งสีม่วงครับ ปลูกในถังซีเมนต์ขนาด 1.5 เมตรครับ เดี๋ยวอีกหน่อยเอาลงบ่อใหญ่เมื่อไหร่จะถ่ายมาให้ดูนะครับ
ลักษณะใบอ่อนของบัววิกตอเรียชนิดดอกสีม่วง,บัวกระด้งสีม่วง เส้นใบจะชัดเจน หนามขึ้นเป็นลิ่มชัดเจนครับ
ขนาดของใบบัววิกตอเรียชนิดดอกสีม่วงที่อนุบาลอยู่ครับ ตอนนี้ได้ 1 ฟุตแล้วครับ
ดอกของบัวกระด้ง ดอกบัววิกตอเรีย
บัววิกตอเรีย,บัวกระด้ง,Victoria waterlily, .
การดูบัวกระด้งว่างามหรือไม่งามง่ายๆคือให้ดูขนาดใบ และความสูงของขอบใบที่ตั้งขึ้นมาครับ บัวกระด้งต้นที่งาม ใบจะใหญ่ ขอบใบจะตั้งสูงมากครับ
ใบอ่อนของบัวกระด้งหรือ บัววิกตอเรียVictoria waterlily ที่กำลังจะกางใบครับ เราจะเห็นดอกตูมอยู่ด้านบนด้วยนะครับ
เห็นใบบัวกระด้งหรือ ใบบัววิกตอเรียย่นๆแบบนี้ .
เค้าแค่ยังกางใบไม่เต็มที่เท่านั้นนะครับ ยังขยายได้อีกเยอะครับ ใบของบัวกระด้ง หรือบัววิคตอเรียเมื่อโตเต็มที่ใบจะเรียบ ผิวมันตึงทั่วทั้งใบนะครับ
ใบบัวกระด้งใบนี้ขนาดใหญ่ขนาดไหน ผมลองถ่ายเทียบกับมือให้ดูครับ ใบนี้ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตรครับ
ภาพการนำบัวกระด้งหรือ บัววิคตอเรียมาใช้ในการจัดสวนครับ
ภาพการจัดสวนโดยใช้บัวกระด้งครับ (อีกมุม) .
บัวกระด้งจะช่วยเติมทรงกลมๆ เขียวๆ ให้กับสวนของคุณได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจเลยทีเดียวครับ
บัวกระด้ง หรือ บัววิคตอเรีย ที่สวนหลวง ร.9
ถ้าสระที่ปลูกบัวกระด้ง หรือบัววิคตอเรียมีขนาดใหญ่ ขนาดของใบและต้นก็จะใหญ่ตามด้วยนะครับ แต่ไม่ควรปลูกน้ำลึกเกิน 1.5 เมตร ครับ เพราะบัวจะโตช้ากว่า ถ้าน้ำลึก บวกกับมีคลื่นน้ำด้วย บัวกระด้งอาจจะเลือกทิ้งที่อยู่เดิม โดยการปล่อยให้รากของตัวเองลอยขึ้นได้ครับ
ดอกขอบัวกระด้งเปลี่ยนสีได้นะครับ เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีชมพูเข้ม จนเกือบแดง ดินและการเตรียมดิน

ดินปลูก
ดินปลูกบัวที่เหมาะสมที่สุดต้องดินที่ธาตุโปแตสเซียมค่อนข้างสูง เช่น ดินเหนียว ดินท้องนา ดินท้องร่วงสวนขุดใหม่ ไม่ควรใช้ดินที่มีซากอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายไม่หมดเพราะจะทำให้น้ำเน่าเสียได้
การเตรียมดิน
นำดินเหนียวที่ได้ตากแดดให้แห้งทุบย่อยให้มีขนาดเล็กลง (ดินเหนียวถ้าแห้งจริง ๆ แล้วจะแตกง่าย) เก็บเศษวัชพืช ที่ติดมากับดินออกให้หมด แบ่งดินที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำไปผสมเพื่อทำเป็นดินปลูกอีกส่วนหนึ่งเป็นดินเปล่า ๆ ไม่ต้องผสมอะไรทำเป็นดินปิดหน้า
สูตรดินผสม

ดิน 10 ส่วน
ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
ร๊อคพอสเฟท 1 กำมือ/ดิน บุ๋งกี๋
ธาตุอาหารรอง 1 กำมือ/ดิน10 1 บุ๋งกี๋
ปุ๋ยคอกที่ใช้ผสมดินจะเป็นมูลอะไรก็ได้ แต่จะต้องให้แห้งและจะต้องไม่มีวัตถุอื่นเจือปนในกรณีที่ใช้ปุ๋ยคอกเป็นมูลไก่หรือ มูลค้างคาวให้เพิ่มดินเป็น 15 ส่วน ทั้งนี้เพราะมูลทั้ง 2 ชนิดมีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงอาจเป็นโทษต่อบัวได้
วิธีการปลูก

บัวแต่ละชนิดมีวิธีการปลูกต่างกันตามลักษณะของวัสดุปลูกและการเจริญเติบโตสำหรับการปลูกด้วยวัตถุประสงค์ให้เป็น ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุปลูกคือ ส่วนของพืชที่ขยายพันธุ์ (Vegetative propagation) ได้แก่ หน่อ ไหลที่แตกต้นใหม่ เหง้า บัว และต้นอ่อนที่เกิดจากหัวหรือต้นแม่บัวแต่ละชนิดมีวิธีปลูกดังนี้
ส่วนที่ขยายพันธุ์ปลูกคือไหลที่กำลังจะแตกต้นอ่อน ต้นอ่อนที่เกิดจากไหลและเนื่องจากการเจริญเติบโตของบัวหลวง สามารถสร้างไหลเจริญตามแนวนอนใต้ผิวดินไปได้ทุกทิศทางและเร็วมาก การปลูกจึงแทบไม่มีกฎเกณฑ์อะไร เพียงแต่ ฝังไหลในจุดที่ต้องการใต้ผิวดิน 8-12 เซนติเมตร กลบอัดดินให้แน่นถ้าไม่มีต้นอ่อนฝังกลบทั้งไหลบัวจะเจริญและแตก ต้นอ่อนขึ้นมาเอง ถ้ามีต้นอ่อนก็ให้ส่วนยอดของต้นที่อ่อนโผล่เหนือดินและไม่ต้องห่วงมากนักเรื่องที่จะให้พ้นน้ำอยู่ใต้ ผิวน้ำสัก 10-15 เซนติเมตรก็ได้ไหลบัวหลวงที่ผู้เรียบเรียงสั่งมาจากต่างประเทศเป็นไหลแก่หรือเหง้าไม่มีใบเลย มีแต่ ส่วนข้อและยอดที่จะแตกต้นใหม่ปลูกแช่ในน้ำลึก 30 เซนติเมตร เพียง 3-4 สัปดาห์ก็แตกใบขึ้นพ้นน้ำ


การปลูกบัวกระด้ง
ปลูกโดยการเพาะเมล็ดในดินในกระถางแช่น้ำ เมื่อต้นโตแตกใบอ่อน 2-3 ใบ ขนาดใบที่ใหญ่ที่สุดยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ย้ายปลูกในกระถางใหญ่ขึ้น ๆ จนโตเต็มที่ในกระถางขนาดปากกว้าง 12 นิ้ว ยกทั้งกระถางลงฝังในบ่อให้ดิน พื้นบ่อกลบโคน 6-10 เซนติเมตร ต่อยกระถางให้แตก รื้อออกกลบดินรอบให้แน่น หรือย้ายปลูกเช่นเดียวกับต้นไม้ทั่วไป คือเราะดินให้ยึดรากออกจากกระถางทั้งกระเปาะแล้วฝังปลูกในบ่อหลักที่อาจจะใช้เป็นข้อสังเกตว่าบัวจะรอดหรือไม่คือ ดูการขึ้นของขอบกระด้ง ตราบใดที่บัวยังไม่ได้ตั้งตัวได้เต็มที่ใบจะไม่ขึ้นขอบเป็นรูปกระด้งเมื่อไรแสดงว่าคงรอดตายแน่ ถ้าไม่ต้องการที่จะต่อยกระถางให้แตกย้ายปลูกครั้งสุดท้ายลงในกระถางปลูกกล้วยไม้ปากกว้าง 12 นิ้ว ที่มีรูปข้างกระถาง โดยรอบแล้วห่อกระถางด้วยพลาสติกเวลาปลูกลงห่อกระถางด้วยพลาสติกเวลาปลูกลงบ่อรื้อพลาสติกที่ห่อออก ปลูก ณ จุดที่ต้องการทั้งกระถางเลย
หลักเกณฑ์ในการบรรจุดินและปลูกบัวในภาชนะปลูก


บัวทุกชนิด (หรือต้นไม้ทุกชนิด) ปลูกไม่ยาก สำหรับบัว การดูแลรักษาถ้าปลูกเป็นไม้ดอก-ไม้ประดับในบ้านเพียงไม่กี่ต้น เช่น ปลูกภาชนะจำกัดเป็นอ่าง ๆ หรือบ่อเล็ก ๆ ในสวนหย่อมไม่ยากเลย งานเบามาก เด็ก สตรี และคนชราก็ทำเองได้แต่ ถ้าปลูกในบ่อพลาสติกหรือบ่อดินขนาดใหญ่มีบัวเป็นสิบ ๆ ต้น งานดูแลรักษาไม่หนักแต่ใช้เวลามาก
หลักเกณฑ์และวิธีการดูแลรักษาที่สำคัญได้แก่
1. ป้องกันน้ำเสีย
โดยเฉพาะการปลูกในภาชนะจำกัดและขนาดเล็กปริมาณน้ำน้อยบัวก็เหมือนกับปลา ต้องการอากาศหายใจในน้ำถ้าน้ำเสีย อ๊อกซิเย่นไม่มีจะพาลตายได้ง่าย เด็ดใบแก่ดอกโรยทิ้งเสียก่อนจะเน่าในภาชนะหรือบ่อที่ปลูกถ้าไม่จำเป็นไม่ควรแก้ไข โดยการถ่ายน้ำเปลี่ยนน้ำใหม่บ่อย ๆ เพราะจะต้องทำให้บัวต้องปรับตัวเองตามจะเจริญเติบโตช้าแต่ถ้าจำเป็นด้วยเหตุ เช่น มีสัตว์ตายอยู่ใต้ดินปลูก ได้แก่ กิ้งกือ ไส้เดือน หรือคางคกลงไปปล้ำกัดกันตายหรือออกไข่-ออกลูกจนน้ำเน่าเสีย หรือ อินทรีย์วัตถุที่ติดมากับดินปลูกยังเน่าเปื่อยไม่หมดทำให้น้ำเน่า ถ่ายน้ำ 2-3 ครั้ง แล้วยังไม่หายต้องเปลี่ยนดินปลูกใหม่
2. ปราบตะไคร่น้ำ-สาหร่าย
ตะไคร่น้ำที่เกิดจากอินทรีย์วัตถุ เช่นมูลสัตว์ที่ใช้เป็นปุ๋ยคลุกที่ยังไม่สลายตัวเต็มที่ สาหร่ายอาจติดมากับดินปลูกเก็บทิ้ง ถ้าปลูกไม่กี่ต้น ถ้าปลูกมากแต่ปลูกในภาชนะจำกัดใช้ด่างทับทิมละลายน้ำในภาชนะปลูกเป็นสีบานเย็นเข้มทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ่ายน้ำออกครึ่งหนึ่งเก็บตะไคร่สาหร่ายที่ตายออกเติมน้ำใหม่ตามเดิม
3. เก็บคราบน้ำมัน
ไขมันจากกระดูกป่นหรืออินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยไม่หมดและการปลูกที่อัดดินไม่แน่น ดินกลบกลบดินผสมเบื้องล่าง ไม่สมบูรณ์ ไขมันจะละลายเป็นฝ้า ถ้าปลูกในอ่างหรือในภาชนะจำกัดใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปะลอยบนผิวน้ำจะช่วยซับ คราบน้ำมันออกถ้าปลูกในบ่อที่มีท่อน้ำล้น ปล่อยน้ำดันให้น้ำผิวหน้าไหลล้นออกทางท่อระบายน้ำ
4. ต้นและรากลอย
เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้ที่สนใจเลิกปลูกบัวไปหลายราย โดยเฉพาะอุบลชาติ เช่น เมื่อปลูกใหม่ ๆ ถ้ากดอัดดินทับไม่แน่น ต้นเหง้าลอย รากดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้นไม่ได้สังเกตได้ง่ายที่สุด ไม่โตสักที ใบเล็กลงและใบเหลือง แก่เร็ว แก้โดย การปลูกใหม่ และหาไม้ไผ่อ่อนพับครึ่งคล้ายปากเคียเสียงคร่อนต้นที่ปลูกกันไม่ให้ลอย (ชาวสวนปลูกบัวเรียกตะเกียบ) สำหรับต้นแก่ที่ปลูกไว้นานแล้ว โดยเฉพาะในภาชนะที่จำกัดอุบลชาติประเภทยืนต้นเจริญทางนอนจนไปชนอีกผนังของ อ่างหรือบ่อในหลายกรณีจะหักขึ้นบนเจริญขึ้นไปจนรากลอยตัดเหง้าที่ไม่ต้องการทิ้ง ปลูกใหม่
5. ที่ปลูกร้อนเกินไป
บัวทุกชนิดต้องการแดดเต็มที่ จะมีปัญหาถ้าที่ปลูกบัวตื้นน้ำน้อยแดดเผาน้ำจนร้อน สังเกตง่าย ๆ ขนาดน้ำอุ่นพอที่จะอาบได้ สบาย ๆ ก็ถือว่าร้อนแล้วสำหรับบัว บัวต้องการแดดเต็มที่วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ขยับที่ปลูกเสียใหม่ถ้าปลูกในภาชนะ ที่เคลื่อนย้ายได้หรือเปลี่ยนภาชนะที่ปลูกให้น้ำลึกขึ้น หรือถ้าเปลี่ยนอะไรไม่ได้และที่ปลูกได้แดดทั้งวัน ใช้มุ้งลวดหรือ มุ้งพลาสติกกันด้านบนเพื่อลดความเข้ม-ร้อนของแสง
6. ดินจืด
มี 2 สาเหตุ คือ ขาดปุ๋ย หรือขาดดิน (ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด) สังเกตได้ง่าย ๆ ถ้าบัวใบเล็กลง เหลืองแก่เร็ว ถ้าปลูกใน บ่อดินที่เหลือเฟือก็คือขาดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยสูตรกลาง ๆ ทั่วไป เช่น 10-10-10, 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือปุ๋ยสำหรับบัว โดยเฉพาะถ้าปลูกในภาชนะจำกัดที่สามารถอัดปุ๋ยได้ในการจุ่มมือครั้งเดียว จะใช้ปุ๋ยห่อกระดาษอ่อนที่ใช้เข้าห้องน้ำหรือ กระดาษหนังสือพิมพ์อัดฝังโคนต้นบัวเลย แต่ถ้าต้องใช้เวลาในการฝังปุ๋ยทำปุ๋ย ลูกกอนำโดยปั้นดินหุ้มปุ๋ยผึ่งแห้งเตรียมไว้ จะใช้เมื่อไรก็ฝังโคนต้นสำหรับปริมาณใช้เท่าไรขึ้นอยู่กับการสังเกตและศึกษาเองของผู้ปลูก เพราะภาชนะปลูกเล็ก-ใหญ่ ต่างกันปริมาณน้ำปลูกมากน้อยต่างกัน ปลูกในบ่อดิน บ่อคอนกรีต พันธุ์ชนิดบัว ฯลฯ จึงไม่สามารถกำหนดเป็นเกณฑ ์ตายตัวได้ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด อีกสาเหตุคือขาดดิน บัวจะออกรากขยายเหง้า ฯลฯ ดันดินพ้นภาชนะละลายไปอยู่กั น้ำจนในที่สุดแทบจะไม่มีดินเหลืออยู่เลย ราก-เหง้าอัดภาชนะเต็มไปหมด แก้โดยรื้อเปลี่ยนดินปลูกใหม่
7. โรค-แมลงศัตรู
ที่พบเป็นประจำ คือ โรคใบจุดและรากเน่าโรคใบจุดไม่ร้ายแรง เพราะใบบัวมีพื้นที่ปรุงอาหารมากเด็ดใบเป็นโรคทำลาย ทิ้งไป โรครากเน่ามีบ้างร้ายแรงกับบัวกระด้งและอุบลชาติ ประเภทล้มลุกบางพันธุ์ ยังไม่ทราบวิธีแก้ นอกจากนั้น คือ เก็บดินบริเวณที่เป็นโรคทำลายทิ้งเสียเลี่ยงไปปลูกบัวชนิดอื่น หรืออุบลชาติประเภทอื่นแทน แมลงที่สำคัญกินบัว ทุกชนิดคือ เพลี้ยและหนอนบัวหลวงเดือดร้อนมากที่สุด เพราะชูใบขึ้นมาให้เพลี้ยเกาะกินบัวชนิดอื่นถูกทำลายบ้างแต่ ใบลอยน้ำฝนตกน้ำกระเพื่อมก็ช่วยซัดเอาเพลี้ยหลุดลอยไปได้บ้าง (ปกติผู้ปลูกเป็นการค้าจะพ่นน้ำให้ลอยหลุดไป) ป้องกันโดยเด็ดใบที่มีเพลี้ยและหนอนท้ง-ทำลายหนอนพับหนอนพับใบเป็นศัตรูที่สำคัญของอุบลชาติ เช่นผีเสื้อ กลางคืนจะมาวางไข่บนใบเมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินดูดน้ำเลี้ยงใบจนโตแล้วกัดใบพับทับตัวเองเพื่อป้องกันศัตรู เช่น นก ฯลฯ ป้องกันกำจัดโดยการบี้ทำลาย บัวหลวงมีศัตรูหนอนมากที่สุดนอกเหนือจากเพลี้ยไฟซึ่งเก่ากินใต้ใบ หนอนกระทู้หนอนชอนใบ โดยเฉพาะหนอนกระทู้กินใบ โกร๋นทั้งต้นซึ่งจะเกิดในช่วงปลายฤดูฝนและในฤดูหนาวซึ่ง เป็นระยะที่บัวชงักการเจริญเติบโตด้วย กสิกรที่ปลูกบัวหลวงเป็นการค้ามักจะตัดใบทิ้ง-ทำลายหมด(ให้หมดเชื้อของหนอน) รอให้ใบแตกใหม่-ออกดอกใหม่ แมลงที่กล่าวทั้งหมดสามารถปราบและควบคุมได้พอสมควรโดยใช้ยาอะโซดริน 60 ผสมน้ำอัตราส่วนน้ำยา 1:100 (1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นให้เป็นฝอยให้จับหน้าของใบบัวบาง ๆ ใบจะดูดน้ำยาเข้าไว้ เมื่อแมลงและหนอนมาดูดกินน้ำเลี้ยงของใบจะกินยาเข้าไปด้วยและตาย ฉีดพ่นทุก ๆ สัปดาห์จนกว่าจะหมดศัตรูฉีดบาง ๆ จะไม่เป็นอันตรายทั้งกับคนและปลาที่เลี้ยง
8. หอย
ส่วนใหญ่ได้แก่หอยขมและหอยคันเป็นทั้งมิตรและศัตรู หอยโข่งเป็นศัตรูที่จงใจ แต่หอยขมเป็นศัตรูที่ตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจ บ้างคือเมื่อตอนเป็นต้นอ่อนจะอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากรากและใบอ่อนที่เกิดใหม่ ๆ ใต้น้ำ โดยเฉพาะอุบลชาติบัวหลวงไม่ค่อย เดือดร้อนเพราะมีสารที่เรียกว่า ดิวติน เคลือบอยู่ และก้านใบก้านดอกมีหนามเล็ก ๆ (บัวกระด้งหนามเต็มต้นไม่เดือนร้อน เลย) หอยขมและหอยโข่งเมื่อโตขึ้นจะเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบเกาะดูดน้ำเลี้ยงจากไข่-ตัวหนอน และน้ำเลี้ยง ใบกินระหว่างเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบ ถ้าน้ำกระเพื่อมกระเทือนจะหุบก้าน ปล่อยตัวหลุดจากก้านบัวเมื่อก้านหุบ ก็เลยเหมือนมีดตัดก้านบัวที่ยังอ่อน ๆ ขาดไปด้วยเป็นปัญหาใหญ่ของการปลูกในบ่อดินป้องกันกำจัดโดยการเก็บทิ้งและ ปลูกอุบลชาติเผื่อไว้มาก ๆ จะได้แบ่งเบาการทำลายลงไปได้บ้าง ถ้าปลูกในภาชนะจำกัดเก็บทิ้งง่ายหอยจะเป็นตัวบอกว่า น้ำเสียหรือยังถ้าน้ำเสียหอยจะลอยมาเกาะตามผนังภาชนะ ณ จุดผิวน้ำเพื่อหาอากาศหายใจแสดงว่าอ๊อกซิเย่นในน้ำไม่มี น้ำเสียแล้วควรรีบแก้ไข
9. วัชพืช
เป็นปัญหาที่ใหญ่ของการปลูกบัวในบ่อดิน หญ้ามิใช่วัชพืชหลักเพราะเมื่อถอนทิ้งไปแล้วก็หมดไปโดยเฉพาะน้ำมากและ ลึกพอควรที่เป็นปัญหาหลักคือสาหร่ายมี 2-3 ชนิด เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายวุ้น สาหร่ายไปและสาหร่ายฝอย สาหร่ายหางกระรอกปราบยากที่สุดเพราะเปาะเมื่อถูกถอนมันจะขาดส่วนที่ขาดจะลอยและไปขยายพันธุ์ต่อที่อื่น สาหร่าย วุ้นยากเป็นที่ 2 เพราะลื่นและหลุดขาดออกจากกันง่ายเช่นเดียวกับสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายเส้น หรือสาหร่ายฝอย เก็บปราบง่ายที่สุดเพราะไม่ค่อยขาดถอนหรือเก็บได้ทั้งกระจุกแต่จะร้ายที่สุด เพราะมักจะไปพันบัวเสียจนยอดบัวเจริญ ขึ้นมาได้ ลูกบัวและก้านบัวต้นเล็ก ๆ ที่งอกจากเมล็ดจากอุบลชาติประเภทล้มลุกทั้งพวกบานกลางวันและบานกลางคืน คือบัวผัน บัวเผื่อน และบัวสายเป็นปัญหามากที่สุดและไม่รู้จักจบสำหรับการปลูกในบ่อดินที่ปลูกอุบลชาติประเภทนี้ ต้อง เก็บกันเป็นประจำทุก ๆ 2-3 สัปดาห์ เพราะนอกจากจะทำให้บ่อบัวรกไม่สวยงามแล้ว ยังแย่งแร่ธาตุอาหารจากบัวที่ปลูก อีกด้วย วิธีแก้คือต้องขยันหมั่นเก็บดอกแก่ทิ้งก่อนติดเมล็ดถ้าปลูกบ่อใหม่และคิดว่าจะเก็บไม่ทัน และปลูกหลายบ่อแนะนำ ให้แยกปลูกอุบลชาติประเภทยืนต้นไว้บ่อหนึ่ง ล้มลุกอีกบ่อหนึ่ง เก็บลูกบัววัชพืชเฉพาะบ่อปลูกประเภทล้มลุกบ่อเดียว
10. ฟักตัวในฤดูหนาว
อุบลชาติประเภทยืนต้นหรือบัวฝรั่งหลายพันธุ์ และอุบลชาติประเภทล้มลุกบานกลางวัน หรือบัวผัน บัวเผื่อนที่นำมาจาก ต่างประเทศบางพันธุ์จะหยุดการเจริญเติบโตผลิตใบหนา ก้านใบสั้น จมอยู่ใต้น้ำในฤดูหนาวแก้โดยเพิ่มความร้อนและ แสงให้ หรือโดยการลดความลึกของระดับน้ำในบ่อที่ปลูกก่อนเข้าฤดูหนาว 1 เดือน (ประมาณกลางเดือนตุลาคม) โดย ลดระดับน้ำให้เหลือ 15-20 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือยกอ่างปลูกให้อยู่ใกล้ผิวหน้าของน้ำตามเกณฑ์ดังกล่าว
11. ปลูกบัวพันธุ์ไหนที่เหมาะสมกับสถานที่และภาชนะที่ปลูก
เป็นหัวใจของการดูและรักษาเพราะถ้าชนิดพันธุ์ไม่เหมาะสมแก่สถานที่ที่จะดูแลรักษาอย่างไรก็ไม่โต ในปัจจุบันพันธุ์ ที่มีจำหน่ายผู้ขายและผู้ปลูกควรรู้จักพันธุ์ว่าชนิดใดชอบน้ำตื้นน้ำลึก ที่ปลูกควรกว้างหรือแคบแค่ไหนผู้ผลิตพันธุ์ออกมา จำหน่ายจะต้องบอกได้ว่าบัวพันธุ์นั้น ๆ ต้องการที่ปลูกอย่างไร
12. อย่าให้อดอาหารและอย่าให้กินจนเป็นโรคท้องมาร
ใส่ปุ๋ยบำรุงตามความจำเป็นถ้าใส่มากเกินไปน้ำจะเขียว ปุ๋ยสูตรสมดุล10-10-10, 12-12-12, 15-15-15 หรือ 16-16-16 ห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ 2 ชั้น หรือปั้นเอาดินเหนียวหุ้มปริมาณเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตของผู้ปลูกเพราะผู้ปลูกแต่ละ รายปลูกในภาชนะขนาดแตกต่างกัน การให้ปุ๋ยแต่ละครั้งต้องหมั่นสังเกตถ้าน้ำเขียว ตะไคร่ สาหร่ายขึ้นเร็วแสดงว่าให้ปุ๋ย มากเกินไปควรลดปริมาณหรือความถี่ในการให้ปุ๋ยลง
13. เลี้ยงปลาที่ไม่กินพืช
เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด หรือปลากัด เพราะจะช่วยกินลูกน้ำ
14. อย่าให้บัวขยายพันธุ์จนแน่นในภาชนะเดียวกัน
บัวฝรั่งจะแตกต่าง บัวสาย บัวหลวง จะแตกไหลไปขึ้นต้นใหม่ บัวผันหรือบัวสายเกิดเมล็ดงอกเป็นต้นใหม่แน่นภาชนะ ให้เอาออกเพราะหากแน่นมากไปต้นจะไม่ออกดอก
15. อย่าปลูกบัวหลายพันธุ์ในภาชนะเดียวกัน
ต้นจากพันธุ์ที่แข็งแรงโตเร็วจะเบียดต้นอ่อนแอจนตายไปในที่สุด
16. บัวฝรั่ง บัวหลวง เจริญตามแนวนอน
ถ้าพุ่งชนภาชนะเมื่อไรจะชงักการเจริญเติบโต หักเหง้าหรือไหลให้ยอดหันกลับทางกลางอ่างหรือบ่อ
17. ไม่จำเป็นอย่าถ่ายน้ำในบ่อบัว
เพราะจะเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมจากที่บัวเคยชิน บัวจะไม่งาม ถ้าจำเป็นจะต้องถ่ายควรถ่ายออกครึ่งหนึ่งเก็บไว้ ครึ่งหนึ่งจะเป็นการดี
18. เปลี่ยนดินปลูกใหม่
ควรเปลี่ยนเมื่อรากแน่นภาชนะที่ปลูกและถ้าปลูกในภาชนะที่จำกัดหรือถ้าปลูกในบ่อและนาน ๆ หลาย ๆ ปี ก็น่าต้องเปลี่ยน หน้าดินเหมือนกัน