ลิ้นกระบือ,ใบท้องแดง
ใบไม้คล้ายๆกับใบชา ใต้ใบหรือท้องใบเป็นสีแดง ด้านบนสีเขียว ลักษณะเป็นพุ่ม หรืออเป็นกอแน่น มันคือต้นลิ้นกระบือ

ชื่ออื่นๆ : กะเบือ กำลังกระบือ
ชื่อสามัญ : Picara
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Excoecaria cochinchinensis Lour.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ถิ่นกำเนิด : แถบอินโดจีน

ต้นลิ้นกระบือ หรือต้นท้องใบแดงนั้นเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณไม่เกิน 1.5 เมตร ใบลิ้นกระบือเป็นประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว มีกิ่งก้านสาขามาก ทรงพุ่มแน่นสวยงาม ลักษณะของรูปใบคือ รูปใบหอก ปลายใบมนแหลม โคนใบเรียวแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนด้านใต้ใบมีสีแดง ออกดอกเป็นช่อเล็กๆที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กและแยกเพศ ดอกเป็นเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมียมีเพียง 2 - 3 ดอก ผลแห้งแตก ค่อนข้างกลม มีขนาดเล็ก มี 3 พู

ลักษณะนิสัยของต้นลิ้นกระบือ
สามารถขึ้นได้ดีในดินทั่วไป ปลูกได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง วิธีขยายพันธุ์ต้นลิ้นกระบือมี 2 วิธีคือ การปักชำกิ่ง และการเพาะเมล็ด ที่นิยมมากที่สุดคือการปักชำ เพราะปักยังไงก็เป็น ง่าย สะดวก เพราะต้นลิ้นกระบือโตเร็วและมีกิ่งก้านเยอะ นิยมเพาะชำในขี้เถ้าแกลบ เป็นไม้ที่ปลูกง่ายไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย เน้นการบำรุงดินเป็นหลัก

ต้นลิ้นกระบือยังมีแบบที่มีใต้ใบเป็นสีเขียวอ่อนอีกด้วย เราเรียกว่าลิ้นกระบือขาว แต่ไม่เป็นที่นิยมเหมือนกับต้นลิ้นกระบือใต้ใบสีแดง ต่อมามีคนเรียกว่า ต้นกระบือเจ็ดตัว ซึ่งยังไม่มีข้อมูลว่าทำไมถึงต้องเรียกว่ากระบือเจ็ดตัวครับ
ลิ้นกระบือ,ใบท้องแดง
สรรพคุณทางยาของต้นลิ้นกระบือ,ใบท้องแดง
ใช้ใบสดตำผสมกับเหล้าคั้นเอาแต่น้ำกิน เป็นยาขับเลือดและน้ำคาวปลาหลังคลอด ประจำเดือนไม่ปกติ แก้อักเสบบริเวณปากมดลูก แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ขับโลหิตร้าย แก้สันนิบาตเลือด
ลักษณะกิ่งก้านของต้นลิ้นกระบือ หรือ ใบท้องแดง
ลิ้นกระบือ,ใบท้องแดง
ยอดอ่อนของต้นลิ้นกระบือ ใบของต้นลิ้นกระบือจะอยู่นานหลายเดือน จึงไม่มีขยะที่เกิดจากใบใากนัก ควรตัดแต่งทรงพุ่มอยู่เสมอ และนำกิ่งที่ตัดไปเพาะชำต่อได้ ต้นเก่าก็จะแตกยอดใหม่มาเลื่อยๆ สวยงามตลอดปีครับ ที่สำคัญต้นลิ้นกระบือราคาถูกมากๆครับ หาซื้อง่าย ตายยาก เหมาะกับการปลูกพื้นที่กว้างๆ มากๆครับ