กะทกรก,Passiflora foetida L.,รก,กระโปรงทอง,ละพุบาบี,หญ้ารกช้าง (ใต้) ,ตำลึงฝรั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora foetida ,
อังกฤษ: Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passionflower
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ รก,กระโปรงทอง,ละพุบาบี,หญ้ารกช้าง (ใต้) ตำลึงฝรั่ง

ลูกสีเขียว ลูกที่สุกสีเหลืองมีใบคล้ายๆใย ขุย หรือดูแล้วคล้ายๆขนหุ้มอยู่ชั่นนอก ใบคล้ายตำลึก มันคือต้นกะทกรกนั่นเอง
กะทกรกจัดเป็นสมุนไพร (Passiflora foetida L.) ประเภทไม้เถาในวงศ์ Passifloraceae เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นของกะทกรกมีริ้วและขนนุ่มๆ กระจายโดยทั่ว มีขนต่อมยาวตามหูใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบ และแผ่นใบ หูใบเป็นชายครุย แฉกลึก ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กว้างหรือแกมรูปขอบขนาน มีต่อมน้ำต้อยใกล้ขอบใบกระจาย ใบประกอบ 2-4 ใบ คล้ายเส้นขนปุกปุย มีต่อมที่ปลาย ดอกสีขาวหรืออมม่วง มีก้านชูเกสรร่วม เกสรเพศผู้ 5-8 อัน รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย 3-4 อัน ผลมีเนื้อหลายเมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร เกลี้ยง มีเมล็ดจำนวนมาก
กะทกรก,Passiflora foetida L.,รก,กระโปรงทอง,ละพุบาบี,หญ้ารกช้าง (ใต้) ,ตำลึงฝรั่ง ยอดกะทกรก ใช้ทานเป็นผักสด มีรสขมเล็กน้อย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกและใช้แกงเลียง เมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ดรับประทานได้
ต้นกะทกรกมีพิษ แต่ต้มสุกแล้วใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้บวม ใบใช้ตำพอกแผลเพื่อฆ่าเชื้อ แก้โรคผิวหนัง หิด ไข้หวัด ดอกใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ผลดิบมีรสเบื่อ ผลสุกหวาน ใช้แก้ปวด บำรุงปอด รากใช้ต้มน้ำดื่มแก้เบาหวานราก ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไข แก้กามโรค ใบ ใช้ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ

อ้างอิง
อรทัย เนียมสุวรรณ นฤมล เล้งนนท์ กรกนก ยิ่งเจริญ พัชรินทร์ สิงห์ดำ. 2555. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชกินได้จากป่าชายเลนและป่าชายหาดบริเวณเขาสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (3): 981 - 991
มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 9
กะทกรก,Passiflora foetida L.,รก,กระโปรงทอง,ละพุบาบี,หญ้ารกช้าง (ใต้) ,ตำลึงฝรั่ง เราสามารถพบเห็นต้นกะทกรกได้ทั่วไปตามป่า สวน ไร่-นา กะทกรกเป็นพืชที่ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และมีสัตว์ เช่น นก เป็นตัวช่วยในการกระจายพันธุ์
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆของกะทกรกคือ รก,กระโปรงทอง,ละพุบาบี,หญ้ารกช้าง (ใต้) ,ตำลึงฝรั่ง ส่วนต่อไปนี้อ้างอิงมาจาก บทความ : รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด
(ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.pharmacy.cmu.ac.th/)

ในแพทย์พื้นบ้าน เวียตนาม ใช้ใบกะทกรก เป็นยาสงบระงับ จ่ายในผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลและเครียด โดยใช้ใบแห้ง 10-15 กรัมต่อวัน นำมาต้ม นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ในรูปแบบชาชง สารสกัดเหลว หรือไซรับ และส่วนรากซึ่งใช้แก้ความดันโลหิตสูง สรรพคุณทางยาพื้นบ้าน ไทย ใช้เถาและรากสด ต้มเป็นยาแก้ปัสสาวะขุ่นข้น สำหรับการวิจัย ค้นพบว่า ใบอ่อนและผลอ่อนสีเขียวซึ่งเป็นผลที่ยังไม่สุก

มีสารประกอบไซยาไนด์คือ ไซยาโนจีนิก ไกลโคไซด์ อีกรายงานพบว่าใบมีกรดไฮโดรไซยานิก ความร้อนที่นานพอ จึงจะมีผลทำลายสารประกอบไซยาไนด์ดังกล่าว ในงานวิจัยของคณาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ ใช้ส่วนลำต้นและใบ นำมาประเมินคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีโดยอ้างอิงวิธีการตามเภสัชตำรับสมุนไพรไทย นำมาสกัดด้วยวิธีการสกัดต่อเนื่องโดย เครื่องสกัดต่อเนื่อง ด้วยเอธาทอล 95% ได้ปริมาณสารสกัดเท่ากับ 23.37% โดยน้ำหนัก สารสกัดที่ได้เป็นของเหลวข้นหนืด สีน้ำตาล มีกลิ่นเฉพาะตัว

ในการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดกะทกรกต่อการทำงานของระบบประสาทในสัตว์ทดลองนั้นใช้หนูตัวผู้พันธุ์วิสตาร์น้ำหนักอยู่ในช่วง 180-220 กรัม ให้สารสกัดทางปาก เป็นเวลา 28 วัน พบว่าสารสกัดกระทกรกมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางอย่างกว้างขวางสามารถระงับความวิตกกังวล ลดอาการซึมเศร้า ลดอาการความจำบกพร่องและเพิ่มความหนาแน่นของเซลล์ประสาทในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ทำให้สงบระงับได้

จะเห็นว่าฤทธิ์สารสกัดกะทกรกต่อระบบประสาทส่วนกลางที่พบในครั้งนี้ค่อนข้างครอบคลุมอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่พบมากในผู้สูงอายุ การพัฒนาสารสกัดกะทกรกด้วยเอทานอลในรูปแบบของยาเม็ดขนาด 125 มิลลิกรัมต่อเม็ด ได้ยาเม็ดที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของการผลิตยาจากสมุนไพร และสารสำคัญยังมีความคงตัวอยู่ภายหลังการผลิต การผลิตใช้กรรมวิธีการทำแกรนูลเปียก ยาเม็ดที่พัฒนาได้ ประกอบด้วยสารสกัดกะทกรก 25.28 % corn starch 55.62 %, microcrystalline cellulose 8.10 %, pregelatinized starch 8.10 %, และสารอื่น

ดังนั้นจาก ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จึงสนับสนุนฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง กะทกรกเป็นพืชที่พบมากและปลูกได้ง่ายในประเทศไทย จึงมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไปเป็นผลิตภัณฑ์ สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพดี ปลอดภัยและมีความคงตัว เพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยในการเพิ่มทางเลือกการรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรจากการผลิตกะทกรกเป็นวัตถุดิบ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิผลในคน รวมทั้งสารสำคัญที่คาดว่าจะเป็นสารออกฤทธิ์

อ้างอิง
ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันพุธที่ 11 กันยายน คอลัมน์ภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพ หน้า 5 (ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.pharmacy.cmu.ac.th/)
ลักษณะของต้นกะทกรก จะมีลักษณะคล้ายๆกับต้นตำลึง ส่วนตัวคิดว่าน่าจะนำกะทกรกมาพัฒนาเป็นไม้กระถางได้ เหมาะอยู่ในสวนสมุนไพร โดยปลูกเพื่อชมความงามของลูกกะทกรก และลักษณะใบที่เขียวเข้ม สวยงาม ข้อสำคัญคือตายยาก ทนต่อภูมิกาศร้อนได้เป็นอย่างดี ถ้าจัดให้ถูกที่ น่าจะสวยงามน่ารักมิใช่น้อย สำหรับเจ้าต้นกะทกรกนี้ :)
ยอดอ่อนของต้นกะทกรก จะมีขนปกคลุมมากอย่างเห็นได้ชัดเจน
ดอกของกะทกรก สวยสุดๆไปเลยว่าไหมครับ :)
ดอกของต้นกะทกรกแบบชัดๆ :)
ด้านหลังของดอกกะทกรกครับ
ผลอ่อนของกะทกรก
กะทกรก ผลที่กำลังเริ่มสุกของต้นกะทกรก
กะทกรก ผลที่สุกแล้วของต้นกะทกรก ดูแล้วคล้ายกับฟักทองลูกเล็กๆเหมือนกันนะครับว่าไหม
กะทกรก Time to Tree ได้นำผลในระยะต่างๆมาวางคู่กับไม้บรรทัดให้เห็นถึงขนาด และความเปลี่ยนแปลงครับ ตอนที่เก็บ หรือเด็ดจากต้นกะทกรก จะมีกลิ่นเขียวๆ ชัดเจนมากครับ ผลสุกของกะทกรกไม่เหม็นเขียวนะครับ นิ่มๆ หอมๆ จับแล้วคล้ายๆกับลูกโปร่งครับ
ต้นกะทกรกชนิดที่รก หรือขนรอบๆช่อดอกเป็นสีออกแดงๆครับ ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือ ก้านใบ ก้านดอก ช่อดอก และลำต้นจะออกสีแดงๆครับ