เล็บมือนาง (อังกฤษ: Rangoon creeper) เป็นไม้เลื้อยดอกหอมเป็นช่อ พบในแถบเอเชีย มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ จะมั่ง (เหนือ) จ๊ามั่ง (เหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) มะจีมั่ง (เหนือ) และ อะดอนิ่ง (มลายู ยะลา)
ดอกเล็บมือนางยังมีแบบชนิดต้นด้วยนะครับ หรือเล็บมือนางที่นำเข้ามาจากฮาวายครับ กลีบดอกจะใหญ่กว่า ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของเล็บมือนางชนิดต้นได้ที่นี่ครับ เล็บมือนางชนิดต้นไม่เลื้อย
ดอกเล็บมือนางชนิดดอกซ้อนคลิกเลยครับ
เล็บมือนางเป็นพืชไม้เลื้อย เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบเดี่ยวรูปวีหรือรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอกมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 4 นิ้ว ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ดอกมีสีแดงอมขาว หรือสีชมพู หลอดของดอกจะโค้งเล็กน้อย และจะมีเกสรยาว ๆ ยื่นออกมาจากกลางดอก 5 อัน เป็นช่อสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีขมพู มีกลิ่นหอม ผลสีน้ำตาลแดงเป็นมัน มี 5 พู
ตอนเย็น-กลางคืนจะมีกลิ่นหอมสดชื่น ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของเล็บมือนางคือเป็นไม้ที่โตเร็วมากๆครับ และสามารถให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี
ลักษณะช่อดอกอ่อนของเล็บมือนาง ก่อนที่จะบานเป็นช่อใหญ่อวดความสวยงาม
time to treee ขอเตือนผู้ที่สนใจจะปลูกเจ้าต้นเล็บมือนางนี้ว่า หนอนบุ้งชอบมากินใบของต้นเล็บมือนางมากๆนะครับ
ลักษณะของดอกเล็บมือนางครับ สีของดอกจะเปลี่ยนสี จากสีขาว ค่อยๆกลายเป็นสีชมพูเข้มอมแดง จนถึงแดงเลยก็มีครับ
ลักษณะของใบเล็บมือนางครับ ขนาดใหญ่กว่าที่เห็นในรูปก็มีนะครับ อันนี้เป็นช่วงยอดแล้ว ใบเลยจะไม่ค่อยใหญ่มากเท่าไหร่นะครับ

สรรพคุณทางยาของเล็บมือนาง ดังนี้
ใบ - ตำชโลม หรือทาแผล ทาฝี แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้
ต้น - ใช้เป็นยาแก้ไอ
ราก - ใช้ถ่ายพยาธิ รักษาตานซาง
เมล็ด - ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม, พยาธิเส้นด้ายในเด็ก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เมล็ดในของผลเล็บมือนางที่แก่และแห้ง 4-5 เมล็ด (4-6 กรัม) หั่นทอดกับไข่ให้เด็กอายุประมาณ 5-6 ขวบรับประทานขับถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม
ผู้ใหญ่ ใช้ 5-7 เมล็ด (หนัก 10-15 กรัม) ทุบพอแตก ต้มเอาน้ำดื่ม หรือหั่นทอดกับไข่รับประทาน
ข้อควรระวัง : ถ้าใช้มากเกินขนาด จะทำให้อาเจียน มึนงง อ่อนเพลีย
สารเคมี : มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์คือ Quisquallic acid

การปลูกเลี้ยงเล็บมือนาง
เล็บมือนางเป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนทรายและมีความอุดมสมบูรณ์พอควร แสงแดดปานกลาง น้ำปานกลาง ปลูกได้ทุกฤดูกาล การขยายพันธุ์โดยใช้รากหรือเหง้า ที่ต้นอ่อนเกิดขึ้น แยกเอามาชำในที่ชุ่มชื้น

การดูแลรักษาเล็บมือนาง
แสง เล็บมือนางเป็นไม้กลางแจ้ง ที่ต้องการแสงมากพอสมควร เพราะหากได้รับแสงไม่เพียงพอก็จะเป็นผลต่อการสังเคราะห์แสงของใบ และจะทำให้ต้นเล็บมือนางไม่เจริญงอกงามเท่าที่ ควร และดอกก็จะไม่สวย

น้ำ
เล็บมือนางมีความต้องการน้ำปานกลาง แต่หากเป็นในระยะแรกปลูก ควรรดน้ำทุกวัน วันละ 2 ครั้ง โดยรดในช่วงเช้า หรือ 2 วัน ต่อ 1 ครั้ง ก็ยังได้

ดิน
เล็บมือนางเป็นไม้ที่ขึ้นง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องดินปลูกมากนักแต่ถ้าจะให้เจริฐงอกงามดี ก็ควรปลูกด้วยดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี

ปุ๋ย
นอกจากใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ในการผสมดินปลูกแล้ว หากต้องการให้ต้นและใบเจริญงอกงามอย่งกว่านี้ ก็ควรรดด้วยยูเรีย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ในช่วงที่เล็บมือนางให้ดอกไม่ควรรดรูเรีย ควรที่จะงดการรดยูเรียไปเลย แล้วหันมาให้ปุ๋ยบำรุงดอกแทน

โรคและแมลง
โดยส่วนใหญ่เท่าที่พบ จะไม่มีโรคและแมลงรบกวนมากนัก จึงไม่จำเป็ฯที่จะต้องใช้สารเคมีในการรักษา และป้องกันกำจัด เพียงแต่ให้ทำลายใบหรือส่วนอื่น ๆ ของต้น ที่มีการร่วงหล่นลงมาอาจทำลายโดยการขุดหลุมฝัง หรือเอาไฟเสียจะเป็นการดีที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.maipradabonline.com