กุหลาบป่า,กุหลาบเลื้อย .
กุหลาบป่า,โรซ่ามัลติฟลอร่า
ชื่ออื่น Coccinea',Roiser multiflora e'carlate
ประเภท Rambler,Wild Rose สีชมพูอ่อน (Light pink)
ดอกขนาด 1-1.5 นิ้ว กลีบซ้อนกัน 17-25 กลีบ มีกลิ่นหอมกลาง (Morderate fragtance) เลื้อยสูง 300-500 เซนติเมตร ดอกออกเป็นพวง หนามคม ออกดอกที่ความสูง 800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

โรซ่ามัลติฟลอร่าถูกผสมพันธุ์โดย Louis Benoit Van Houtte,befon
กุหลาบป่า,กุหลาบเลื้อย ออกดอกเป็นช่อ ดอกดก มีกลิ่นหอม สีชมพูสด สวยงาม
กุหลาบป่า,กุหลาบเลื้อย
กุหลาบป่า,กุหลาบเลื้อย
กุหลาบป่า,กุหลาบเลื้อย
กุหลาบป่า,กุหลาบเลื้อย
กุหลาบป่า,กุหลาบเลื้อย
กุหลาบป่า,กุหลาบเลื้อย
ลักษณะใบของต้นกุหลาบป่า แสงแดด
ควรเลือกบริเวณที่ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ หรือแล้วแต่สานพันธุ์ของกุหลาบนั้นๆ และต้องได้รับแสงแดดประมาณ6 ชั่วโมงขึ้นไป อากาศโปร่งโล่งและลมไม่แรง เพราะอาจจะทำให้กิ่ง และก้านของกุหลาบหักเสียหายได้

การเว้นระยะห่าง
การปลูกกุหลาบลงแปลงควรปลูกให้ทรงพุ่มห่างกันอย่างน้อยประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้สะดวกต่อการตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ย ส่วนการปลูกลงกระถางควรเลือกกระถางให้มีขนาดพอ

ลักษณะดินที่ปลูก
ต้นกุหลาบชอบดินระบายน้ำดี มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ มีซากพืชหรืออินทรีสารเยอะ เหมือนไม้ทั่วไป แต่ไม่ควรมีน้ำขัง

การคลุมหน้าดิน
นำฟางข้าว เศษหญ้า หรือขุยมะพร้าวที่เก่าและย่อยสลายแล้วมาคลุมรอบโคนต้นเพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน ลดการระเหยของน้ำ ลดการงอกของวัชพืช

ฤดูที่เหมาะแก่การปลูกกุหลาบในประเทศไทย
กุหลาบเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน และเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

การให้น้ำกุหลาบ
ควรรดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน ช่วงเช้าประมาณ 6.00 น. - 8.00 น. หรือตามความเหมาะสมของสายพันธุ์ และอย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง

การแต่งยอด
เด็ดยอดบริเวณเหนือตาประมาณ 1 เซนติเมตรเพื่อให้เกิดยอดใหม่พัฒนาไปเป็นตาดอก หรือหากหลังการแต่งกิ่ง กุหลาบแตกตาใหม่ขึ้นมาเยอะเกินไปควรปลิดทิ้ง

การตัดแต่งกิ่ง
การดูแลกุหลาบระยะแรกหลังปลูกเมื่อตากุหลาบเริ่มแตก ควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบ เพื่อการสะสมอาหาร และสร้างกิ่งกระโดง เพื่อให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ และก้านยาว ซึ่งทำได้ด้วยการเด็ดยอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยเด็ดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ (5 ใบย่อย) ใบที่สองจากยอด เมื่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา จากนั้นกิ่งกระโดงจะเริ่มแทงออก ซึ่งกิ่งกระโดงนี้จะเป็นโครงสร้างหลักให้ต้นกุหลาบ ที่ให้ดอกมีคุณภาพดี

การตัดแต่งกิ่งกุหลาบปฏิบัติได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะใช้หลักการที่คล้ายกัน คือตัดแต่งเพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์เพื่อการตัดดอก และเพื่อให้ได้กิ่งกระโดง (water sprout หรือ bottom break) มากขึ้น และจะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด ควรรักษาให้พุ่มกุหลาบโปร่ง และไม่สูงมากเกินไปนัก เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา และแสงที่กระทบโคนต้นกุหลาบจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย การตัดแต่งกิ่งที่นิยมในปัจจุบันได้แก่การตัดแต่งกิ่งแบบ ตัดสูงและต่ำ

การตัดแต่งแบบ ตัดสูงและต่ำ (สูงและต่ำจากจุดกำเนิดของกิ่งสุดท้าย) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้มีการผลิตดอกสม่ำเสมอทั้งปี

การใส่ปุ๋ยบำรุง
สามารถใช้ได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของกุหลาบ เพื่อช่วยเพิ่มความโปร่ง ร่วนซุย และธาตุอาหารให้แก่ดินโดยอาจให้ปุ๋ยเม็ดสูตร 15 - 15 - 15 หรือ 16 - 16 - 16 ต้นละ 5 - 10กรัม ทุก 2 สัปดาห์ โดยการเจาะดินเป็นหลุมเล็กๆ ห่างจากโคนต้นประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อหยอดปุ๋ยเวียนรอบโคนต้นไปเรื่อยๆหรืออาจใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 20 - 20 - 20 ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 กรัมต่อ 1 ลิตร รอบโคนต้นประมาณ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง ซึ่งปุ๋ยเคมีจะดูดซึมได้เร็วกว่า มีธาตุอาหารสูงกว่า แต่อาจทำให้ดินแน่นแข็ง จึงควรสลับกับการให้ปุ๋ยคอก โดยปุ๋ยคอกที่ใช้ควรผ่านกระบวนการหมักและย่อยสลายก่อน ไม่ควรนำปุ๋ยคอกใหม่มาใช้ เพราะอาจทำให้กุหลาบขาดธาตุไนโตรเจนซึ่งอาจส่งผลต่อระบบรากของต้นกุหลาบ โดยดินถุงที่ซื้อมาอาจเก็บไว้ 1 - 2 เดือนก่อนนำมาใช้

ไม่ควรให้ปุ๋ยครั้งละมาก ๆ เพราะต้นไม้จะไม่สามารถดูดซึมได้หมดและยังเป็นการทำให้ดินแน่นแข็ง มีเกลือตกค้าง ทำให้กุหลาบต้องคายน้ำออกมาทางรากเพื่อลดความเข้มข้น จนเกิดอาการใบไหม้และต้นตายในที่สุด

การคัดเลือกสายพันธุ์กุหลาบ
การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันจะคำนึงถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ มากกว่าการที่ดอกสวยสะดุดตาแต่เมื่อซื้อไปก็เหี่ยวทันที ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมักมีข้อพิจารณาดังนี้

1.มีผลผลิตสูง ปัจจุบันกุหลาบดอกเล็กให้ผลผลิตสูงถึง 300 ดอก/ตร.ม./ปี
2.อายุการปักแจกันนาน พันธุ์กุหลาบในสมัยทศวรรษที่แล้วจะบานได้เพียง 5-6 วัน ปัจจุบันกุหลาบพันธุ์ใหม่ ๆ สามารถบานได้ทนถึง 16 วัน
3.กุหลาบที่สามารถดูดน้ำได้ดี
4.กุหลาบที่ไม่มีหนามหรือหนามน้อยเพื่อความสะดวกในการจัดการ
5.สี สีแดงยังคงครองตลาดอยู่ รองลงมาคือสีชมพู สีอ่อนเย็นตา และสองสีในดอกเดียวกัน
6.กลิ่น เป็นที่เสียดายที่กุหลาบกลิ่นหอมมักไม่ทน แต่ก็มีการผสมพันธุ์กุหลาบตัดดอกกลิ่นหอมบ้าง สำหรับตลาดท้องถิ่น
7.มีความต้านทานโรค และทนความเสียหายจากการจัดการสูง

การขยายพันธุ์กุหลาบ
กุหลาบเป็นพืชไม้ดอกที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายกว่าไม้ดอกอื่น ๆ หลายชนิด คือ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด การตัดชำทั้งด้วยกิ่งและด้วยราก การตอนกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง ตลอดจนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1. การเพาะเมล็ดกุหลาบ
การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ มุ่งที่จะได้พันธุ์ใหม่ ๆ แปลก ๆ เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากกุหลาบที่ปลูกอยู่ทุก ๆวันนี้เป็นลูกผสมทั้งหมด การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงทำให้ได้ทันที ไม่เหมือนพ่อแม่และไม่เหมือนกันเลยระหว่างลูกด้วยกัน จึงไม่เหมาะที่จะใช้โดยทั่วๆ ไป แต่เหมาะสำหรับนักผสมพันธุ์เพื่อที่จะหาพันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะดีเด่นกว่าต้นพ่อต้นแม่

ก. การทำให้เมล็ดพ้นจากสภาพการฟักตัว อาจทำได้ 2 วิธีคือ

1. นำฝักกุหลาบที่แก่เต็มที่ไปฝังไว้ในกระบะที่บรรจุทรายชื้น เก็บไว้ในอุณหภูมิ 41 องศาฟาเรนไฮน์ เป็นเวลา 3 เดือนแล้ว จึงเอาฝักกุหลาบมาแกะเอาเมล็ดเพาะ

2. เมื่อตัดฝักกุหลาบมาจากต้น นำมาผ่าครึ่งด้วยมีด ใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้เขี่ยเอาเมล็ดออกมา เมล็ดกุหลาบมีลักษณะคล้ายเมล็ดแอปเปิ้ล ขนาดใกล้เคียงกัน (ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์)ฝักหนึ่ง ๆ อาจจะมีถึง 70 เมล็ด(5-70)

ข. การเพาะเมล็ด หลังจากเมล็ดงอกรากออกมาแล้ว นำเอาไปเพาะในกระถาง หรือกระบะเพาะต่อไป ในต่างประเทศใช้ส่วนผสมสูตรของ จอห์น อินเนส(John Innes) โดยมีส่วนผสมดังนี้

1) ดินร่วน 2 ส่วน

2) พีทมอส 2 ส่วย

3) ทรายหยาบ 1 ส่วน


2. การตอนแบบทับกิ่ง
เป็นการขยายพันธุ์กุหลาบเลื้อยที่ทำกันมานานแล้ว ปัจจุบันยังมีทำกันอยู่บ้าง ด้วยเหตุที่ให้ผลดีและแน่นอน มีข้อเสียอย่างเดียวคือได้จำนวนน้อยและเสียเวลา
กิ่งที่ใช้ตอน ควรจะเป็นกิ่งที่เคยให้ดอกมาแล้ว (ไม่อ่อนเกินไป) เป็นกิ่งอวบสมบูรณ์ ควั่นกิ่งให้ห่างจากยอดประมาณ 6-8 นิ้ว ความยาวของรอยควั่นประมาณครึ่งนิ้ว ลอกเอาเปลือกออก ขูดเอาเยื่อเจริญออกให้หมด ทาด้วยฮอร์โมนเร่งราก เอ็น .เอ็น.เอ. ผสมกับ ไอ.บี.เอ. ในสัดส่วน 1 ต่อ 1 ความเข้มข้น 4,500 ส่วนต่อล้าน (ppm) ทิ้งไว้ให้แห้ง หุ้มด้วยขุยมะพร้าวเปียก หรือกาบมะพร้าวที่ทุบให้นุ่ม แล้วแช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืนในต่างประเทศใช้สแพกนั่มมอสชื้น ๆ ห่อด้วยแผ่นพลาสติก มัดหัวท้ายให้แน่นประมาณ 10-12 วันจะมีรากงอกออกมา สามารถตัดไปปลูกได้


3. การขยายพันธุ์กุหลาบด้วยวิธีการต่อกิ่งและการติดตา

การต่อกิ่ง (grafting)

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ นิยมทำกับกุหลาบที่ปลูกในกระถาง ไม่นิยมทั่วไป เพราะเสียเวลาและไม่มีความแน่อน อีกทั้งต้องใช้ฝีมือพอสมควร

การติดตา (budding)

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นที่นิยมมากที่สุด ทั้งนี้เพราะสามารถขยายพันธุ์ดีได้เร็วกว่า คนที่มีความชำนาญในการติดตา จะสามารถทำการติดตาได้มากกว่า 1,000 ต้นต่อวัน ต่อสองคน อีกทั้งยังสามารถคัดเลือกต้นตอทีเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละท้องถิ่น และแต่ละพันธุ์ของกุหลาบพันธุ์ดีที่จะนำมาติด

นอกจากนี้ ถ้าตาพันธุ์ดีที่นำมาติดสามารถเข้ากันได้ดีกับต้นตอ จะช่วยส่งเสริมความดีเด่นในลักษณะต่าง ๆ ของกุหลาบพันธุ์ดีที่นำมาติดด้วย ยิ่งไปกว่านั้นกุหลาบที่ใช้เป็นต้นตอส่วนมากจะมีระบบรากที่แข็งแรงกว่ากุหลาบพันธุ์ดี ทำให้การปลูกกุหลาบแต่ละครั้งมีอายุให้ผลยาวนานและผลผลิตสูงกว่าการปลูกกุหลาบจากการตอนกิ่ง หรือการตัดชำ

กุหลาบที่ใช้ทำเป็นต้นตอ ส่วนมากเป็นกุหลาบป่า (Wild species) หรือกุหลาบเลื้อยบางพันธุ์ กุหลาบแต่ละชนิด แต่ละพันธุ์ ใช่ว่าจะเป็นต้นตอที่ดีที่สุดของกุหลาบพันธุ์ดีทุกพันธุ์เสมอไป


โรค
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีศัตรูมากพืชหนึ่ง ดังนั้นการป้องกันและกำจัดศัตรูกุหลาบให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปลูกควรทราบลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และวงจรชีวิตของศัตรูนั้น ๆ รวมทั้งการป้องกันกำจัด และการใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น และควรฝึกเจ้าหน้าที่ให้หมั่นตรวจแปลง และสังเกตต้นกุหลาบทุกวันจะช่วยให้พบโรคหรือแมลงในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถกำจัดได้ง่าย ในการฉีดพ่นสารเคมีควรใช้สารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้สารนั้น ๆ แสดงประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ จากนั้นนั้นควรสับเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีเพื่อลดการดื้อยา

-โรคราน้ำค้าง (Downey mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora spasa ลักษณะการทำลาย อาการจะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด
-โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Sphaerotheca pannosa ลักษณะการทำลาย อาการเริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และบริเวณนั้นมักมีสีแดง และจะสังเกตเห็นเส้นใย และอัปสปอร์ สีขาวเด่นชัดบนผิวของใบอ่อน ใบจะบิดเบี้ยว และจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว ใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม หรือรูปทรงไม่แน่นอน
-โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae) เป็นโรคที่พบเสมอ ๆ ในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ หรือปลูกประดับอาคารบ้านเรือนเพียง 2-3 ต้น โดยมากจะเกิดกับใบล่าง ๆ อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็กด้านบนของใบ และจะขยายใหญ่ขึ้นหากอากาศมีความชื้นสูง และผิวใบเปียก หากเป็นติดต่อกันนาน จะทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง
-โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส เช่น ใบด่างซีดเหลือง หรือด่างเป็นซิกแซก
-โรคราสีเทา (botrytis: Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์
-โรคกิ่งแห้งตาย (die back) เกิดจากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง

แมลงและไรศัตรู
-ไรแดง (Spider mite)
-เพลี้ยไฟ (Thrips)
-หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)
-หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)
-ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)
-เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)
-เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)