สรรพคุณของจมูกปลาหลด .
1.ทุกส่วนของต้นจมูกปลาหลดเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง (ทั้งต้น)[5]
2.ทั้งเถามีรสขมเย็น เด็ดเอามาต้มกับน้ำ ใช้กลั้วคอแก้คอเจ็บ (เถา)[1],[2]
3.ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาอาการอักเสบบริเวณปากและคอ (ทั้งต้น)[3],[6]
4.รากมีรสขมเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง (ราก)[1],[2],[3]
5.ใบและเถามีรสขม กลิ่นเหม็นเขียว ใช้คั้นเอาน้ำดื่มช่วยลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาแก้ไข้ (ใบและเถา)[3],[6]
6.ใช้เป็นยาแก้ไข้รากสาด (ทั้งต้น)[3]
7.ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ในเด็ก (ใบและเถา)[3],[6]
8.ใช้เป็นยาแก้บิด (ทั้งต้น)[3],[6]
9.ใช้แก้ประจำเดือนผิดปกติ (ทั้งต้น)[5]
10.ใช้เป็นยารักษาบาดแผล รักษาแผลสด (ใบและเถา, ทั้งต้น)[3],[5]
11.น้ำยางจากต้นเป็นยางที่มีสารบางอย่าง มีรสขมเย็น สามารถนำมาใช้ชำระล้างแผลที่เป็นหนองได้ (น้ำยางจากต้น)[1],[2]
12.ทั้งต้นใช้ปรุงเป็นยาขับน้ำนม (ทั้งต้น)[3],[6]
13.ต้นใช้ปรุงเข้ายาเขียวน้ำมูตร ยาเขียวมหาคงคา ยามหากะเพราและยาขนานต่าง ๆ อีกมาก (ต้น)[4]
ประโยชน์ของจมูกปลาหลด
1. ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอก ใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกชนิดต่าง ๆ หรือลาบ ก้อน น้ำตก ชาวอีสานจะใช้รับประทานร่วมกับลาบ ส่วนชาวใต้จะใช้ใบนำมาหั่นผสมกับข้าวยำ[3],[4],[6] ส่วนผลก็ใช้รับประทานได้เช่นกัน[5]
2. น้ำคั้นจากเถาและใบใช้ผสมในขนมขี้หนู ทำให้ขนมขี้หนูมีสีเขียว[6]
3. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป โดยนำมาปลูกลงในกระถางที่มีโครงเลื้อยพันได้ ดอกและใบมีเสน่ห์สวยงาม จึงช่วยเพิ่มสีสันให้กับอาคารบ้านเรือนและห้องรับแขกได้ อีกทั้งยังปลูกง่าย โตเร็ว และทนทานอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “จมูกปลาหลด”. หน้า 218-219.หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “จมูกปลาหลด”. หน้า 107.ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “จมูกปลาหลด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [10 ม.ค. 2015].ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “จมูกปลาหลด”. อ้างอิงใน : หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. (ราชบัณฑิตยสถาน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [10 ม.ค. 2015].สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “จมูกปลาหลด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [10 ม.ค. 2015].จุลสารสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปีที่ 8 ฉบับที่ 3, พันธุ์ไม้ที่ใช้เป็นสมุนไพรและอาหาร. (ศ.ดร.พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ). “จมูกปลาหลด”. หน้า 6.