เพชรสังฆาต,สันชะควด,สามร้อยต่อ,ขั่นข้อ .
ต้นเพชรสังฆาต สมุนไพรที่ช่วยรักษาริดสีดวงทวารหนัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis L.
ชื่อพ้อง : Cissus quadrangulaVitis quadrangularis
อันดับ : Vitales
วงศ์ : Vitaceae (เพชรสังฆาตอยู่วงศ์เดียวกับองุ่น)
สกุล : Cissus
สปีชีส์ : C. quadrangularis
ชื่ออื่น : ขั่นข้อ (ราชบุรี) , สันชะควด (กลาง) ,สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทั่วไปของต้นเพชรสังฆาต
ไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยม เป็นข้อต่อกัน มีมือสำหรับเกาะยึดออกตางข้อต่อตรงข้ามใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อต้น รูปสามเหลี่ยม ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบยาว 2-3 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านด้านนอกมีสีแดง ด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปด้านล่าง เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ดกลม สีน้ำตาล มี 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : น้ำจากต้น เถา ใบยอดอ่อน ราก
สรรพคุณ
น้ำจากต้นของเพชรสังฆาต
ใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรีประจำเดือนไม่ปรกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร
ใบยอดอ่อนของเพชรสังฆาต
รักษาโรคลำไส้เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย
ใบ และรากของเพชรสังฆาต
ใช้เป็นยาพอก
เถาเพชรสังฆาต
ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้กระดูกแตก หัก ซ้น แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ (เถา, น้ำคันจากต้น)