ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงยักษ์ ต้นไม้กินแมลง พืชกินสัตว์เป็นอาหาร .
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีหลายพันธุ์นะครับ แยกย่อยไปอีกมากมาย หัวข้อนี้ให้ดูแบบไม่เจาะจงครับ
ชื่อ : หม้อข้าวหม้อแกงลิง (เป็นชื่อรวมๆ)
ชื่อพ้อง : Anurosperma Hallier (1921),Bandura Adans. (1763) ,Phyllamphora Lour. (1790)
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์ : NepenthaceaeDumort. (1829)
สกุล : Nepenthes
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้เลื้อย เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ (Magnoliopsida) มีระบบรากที่ตื้นและสั้น สามารถสูงได้หลายเมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตรหรืออาจหนากว่านั้นในบางชนิด เช่น N. bicalcarata เป็นต้น จากลำต้นไปยังก้านใบที่มีลักษณะใบคล้ายกับสกุลส้ม ยาวสุดสายดิ่งซึ่งบางสายพันธุ์ใช้เป็นมือจับยึดเกี่ยว แล้วจบลงที่หม้อที่เป็นใบแท้แปรสภาพมา ตัวที่เราเห็นเป็นหม้อนั้นเริ่มแรกจะมีขนาดเล็กๆ และค่อยๆ โตขึ้นอย่างช้าๆ จนเป็นกับดักทรงกลมหรือรูปหลอดสูงๆ ยาวๆ
ด้านในของตัวหม้อจะบรรจุไปด้วยของเหลวที่สร้างขึ้น อาจมีลักษณะเป็นน้ำหรือน้ำเชื่อม ใช้สำหรับให้เหยื่อจมน้ำตาย จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายชนิด ของเหลวจะบรรจุไปด้วยสารเหนียวที่ถูกผสมขึ้นเป็นสำคัญเพื่อใช้ย่อยแมลงในหม้อ ความสามารถของของเหลวที่ใช้ดักจะลดลง เมื่อถูกทำให้เจือจางโดยน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้นที่เป็นถิ่นอาศัยของพืชสกุลนี้
ส่วนล่างของตัวหม้อจะมีต่อมสำหรับดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้ ส่วนบริเวณด้านบนจะมีผิวลื่นเป็นมันใช้เพื่อป้องกันเหยื่อหนีรอดไปได้ ทางเข้าของกับดักเป็นส่วนประกอบที่เรียกว่าเพอริสโตม จะลื่นและเต็มไปด้วยสีสันที่ดึงดูดเหยื่อเข้ามาและเสียหลักลื่นหล่นลงไปในหม้อ ส่วนฝาหม้อใช้ป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกลงไปผสมกับของเหลวในหม้อ และด้านข้างจะมีต่อมน้ำต้อยไว้ดึงดูดเหยื่ออีกทางหนึ่งด้วย
โดยปกติหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะสร้างหม้อขึ้นมา 2 ชนิด คือหม้อล่าง เป็นหม้อที่อยู่แถวๆโคนต้นมีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม อีกชนิดคือหม้อบนที่มีขนาดเล็ก ก้านหม้อจะลีบแหลม รูปทรงของหม้อจะเปลี่ยนไป และสีสันจืดชืดกว่า หรือความแตกต่างอีกอย่างคือ หม้อล่างทำหน้าที่ล่อเหยื่อและดูดซึมสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโต ส่วนหม้อบน เมื่อต้นโตขึ้น สูงขึ้น หม้อบนจะลดบทบาทการหาเหยื่อ แต่เพิ่มบทบาทการจับยึด โดยก้านใบจะม้วนเป็นวง เกาะเกี่ยวกิ่งไม้ข้างๆ ดึงเถาหม้อข้าวหม้อแกงลิงให้สูงขึ้นและมั่นคงขึ้นไม่โค่นล้มโดยง่าย แต่ในบางชนิดเช่น N. rafflesiana เป็นต้น หม้อที่ต่างชนิดกัน ก็จะดึงดูดเหยื่อที่ต่างชนิดกันด้วย
เหยื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงโดยปกติแล้วจะเป็นแมลง แต่บางชนิดที่มีหม้อขนาดใหญ่ (N. rajah, N. rafflesiana เป็นต้น) บางครั้งเหยื่ออาจจะเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น หนู และสัตว์เลื้อยคลาน[2][3] ดอกของหม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้น ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะหรือช่อแยกแขนง จะแยกเพศกันอย่างชัดเจน แบบหนึ่งต้นหนึ่งเพศ ฝักเป็นแบบแคปซูล 4 กลีบและแตกเมื่อแก่ ภายในประกอบไปด้วยเมล็ด 10 ถึง 60 เมล็ดหรือมากกว่านั้น เมล็ดแพร่กระจายโดยลม
พืชในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชกินสัตว์ที่มีกับดักแบบหลุมพราง (Pitfall traps, pitcher) เหมือนกับพืชในสกุล Sarracenia, Darlingtonia, Heliamphora และ Cephalotus และการวิวัฒนาการของกับดักสันนิษฐานว่าการจากการคัดเลือกภายใต้แรงกดดันในระยะเวลายาวนาน เช่น มีสารอาหารในดินน้อย เป็นต้น ทำให้เกิดการสร้างใบรูปหม้อขึ้น และอาจเกิดจากแมลงซึ่งเป็นเหยื่อของมันหาอาหารมีพฤติกรรม, บิน, คลาน และไต่ ทำให้เกิดการพัฒนาจากโพรงช่องว่างที่เกิดจากใบประกบกันกลายหม้อซึ่งเป็นกับดักแบบหลุมพรางหม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้นถูกจัดให้มีบรรพบุรุษร่วมกับพืชที่มีกับดักแบบกระดาษเหนียว ซึ่งแสดงว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดอาจมีการพัฒนามาจากกับดักแบบกระดาษเหนียวที่สูญเสียเมือกเหนียวไปกับดักเกิดขึ้นที่ปลายสายดิ่งหรือมือจับซึ่งพัฒนามาจากการยืดออกของเส้นกลางใบ
โดยมากเป็นรูปทรงกลมหรือรูปหลอด เป็นกระเปาะ มีของเหลวอยู่ภายในมีลักษณะเป็นน้ำหรือน้ำเชื่อม ปากหม้อที่เป็นทางเข้าของกับดักอยู่ด้านบนของหม้อ เป็นส่วนประกอบที่เรียกว่าเพอริสโตม ซึ่งมีลักษณะลื่น ฉาบไปด้วยขี้ผึ้งและเต็มไปด้วยสีสันที่ดึงดูดเหยื่อเข้ามาและเสียหลักลื่นหล่นลงไปในหม้อ ส่วนล่างของหม้อจะมีต่อมสำหรับดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้ ส่วนบริเวณด้านบนจะมีผิวลื่นเป็นมันใช้เพื่อป้องกันเหยื่อหนีรอดไปได้ มีฝาปิดอยู่ที่ด้านบนของกับดักป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกลงไปในหม้อ ใต้ฝามีต่อมน้ำต้อยไว้เพื่อดึงดูดเหยื่ออีกทางหนึ่ง