ว่านมหากาฬ สมุนไพรช่วยรักษาเริม,งูสวัด,แมงป่องต่อย,แมลงภู่ต่อย,แก้ไข้พิษเซื่องซึม
ต้นว่านมหากาฬ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura pseudochina (L.) DC.
วงศ์ : Asteraceae (Compositae)
ชื่ออื่น :ดาวเรือง (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นว่านมหากาฬจัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยยาว ชูยอดตั้งขึ้น ใบ เดี่ยว ขอบใบหยัก หลังใบสีม่วงเข้ม ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีเหลืองทอง ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ : หัว ใบสด
สรรพคุณของว่านมหากาฬ
หัว
รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม
ใบสด
ขับระดู ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้
1.ใช้ว่านมหากาฬรักษาเริมมี 2 สูตร
สูตรที่ 1
ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
สูตรที่ 2
ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
ข้อสังเกต
ในการใช้ว่านมหากาฬรักษาเริม และงูสวัด เมื่อหายแล้ว มีการกลับไปเป็นใหม่น้อยกว่าเมื่อใช้เหล้าขาว
2. ถอนพิษไข้ โดยใช้รากกะเอาจำนวนพอประมาณต้มน้ำดื่มเรื่อยๆ ต่างน้ำชา อาการไข้จะทุเลาและหายในที่สุด- หรือใช้ใบสดโขลกผสมกับเหล้า กินดับพิษไข้เซื่องซึม ดับพิษกาฬ พิษร้อน กระสับกระส่าย รักษาพิษอักเสบ
3. ฝีแผลพุงพอง นำหัวว่านมหากาฬตำพอก หรือฝนกับน้ำปูนใส ทาบริเวณที่เป็นฝีและแผลพุพอง วันละ 3–4 ครั้ง- หรือจะใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับเหล้า ใช้พอกฝีหรือหัวสำมะรอก ทำให้เย็น ถอนพิษ บรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน
4. ขับระดู ใช้ใบสด
5. พิษงู นำใบว่านมหากาฬมาขยี้ จนช้ำแล้วนำไปพอกแผล ผูกด้วยผ้าไว้ประมาณ 10-12 ชม. อาการปวดจะหายไป (น่าจะหมายถึงงูพิษอ่อน ถ้างูพิษร้ายแรงให้รีบไปหาหมอดีกว่า)
6. พิษแมงป่อง(ทหารราบ) ต่อ แตน แมลงภู่ ผึ้ง(ทหารอากาศ) ^_^นำ “ใบว่านมหากาฬ” มาตำและพอกไว้ สักครู่ใหญ่ๆ ความเจ็บปวดเริ่มทุเลาและหายไปในที่สุด อาการบวมก็จะลดลง
7. ห้ามเลือด หากมีบาดแผล มีเลือดไหลไม่หยุด นำใบว่านมหากาฬขยี้แล้วโปะบนบาดแผล รับรองว่า เลือดหยุดไหลภายในเวลาไม่นานนัก
การปลูกว่านมหากาฬ
ว่านมหากาฬขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ ชอบดินที่อุ้มน้ำ หรือมีความชื้นสูง แต่ไม่ควรแชะ เพราะจะทำให้เน่าตายได้ ว่านมหากาฬเป็นพืชที่ชอบน้ำมากๆ ควรลดน้ำอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง สามารถปลูกกลางแดดได้ ปลูกรำไรก็ได้ การใส่ปุ๋ย ถ้าต้นไม่แคระแกน ก็ไม่จำเป็นต้องใส่แต่อย่างใดครับ ถ้าอยากใส่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงรากและใบ
ที่มาของข้อมูล
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_02_10.htm
http://www.oknation.net/blog/chabatani/2010/12/13/entry-2
http://www.hoanngoc-samunpai.com/index.php?mo=3&art=537017