ต้นหญ้าหนวดแมว,บางรักป่า,พยับเมฆ,อีตู่ดง กลุ่มสมุนไพรช่วยขีบปัสสาวะ ดอกสีขาวมีเส้นหรือก้านดอกยาวออกมาจากดอกคล้ายหนวดหรือเข็ม ก้านดอกสีน้ำตาลแดง
หญ้าหนวดแมว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.
ชื่อพ้อง : O. grandiflorus Bold.
ชื่อสามัญ : Java tea, Kidney Tea Plant, Cat's Whiskersวงศ์ : Lamiaceae ( Labiatae)
ชื่ออื่น : บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์) พยับเมฆ (กรุงเทพฯ) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
หญ้าหนวดแมวเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นและกิ่งอ่อน เป็นสี่เหลี่ยม สูง 0.3-0.8 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกตรงปลายยอด มี 2 พันธุ์ ชนิดดอกสีขาวอมม่วงอ่อน กับพันธุ์ดอกสีฟ้า บานจากล่างขึ้นข้างบน เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก

ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ใบและต้นขนาดกลางไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป

สรรพคุณของหญ้าหนวดแมว
ราก
ขับปัสสาวะ

ทั้งต้น
แก้โรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระษัย รักษาโรคปวดตามสันหลัง และบั้นเอว รักษาโรคนิ่ว รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ

ใบ
รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำขับกรดยูริคแอซิดจากไต

วิธีและปริมาณที่ใช้
ใช้หญ้าหนวดแมวเป็นยาขับปัสสาวะ

1. ใช้กิ่งกับใบหญ้าหนวดแมว ขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ล้างสะอาด นำมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง นำมา 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1 ขวดน้ำปลา (750 ซีซี.) เหมือนกันชงชา ดื่มต่างน้ำตลอดวัน รับประทานนาน 1-6 เดือน

2. ใช้ต้นกับใบวันละ 1 กอบมือ (สด 90- 120 กรัม แห้ง 40- 50 กรัม ) ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 ซีซี.) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ข้อควรระวัง
คนที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะมีสารโปตัสเซียมสูงมาก ถ้าไตไม่ปกติ จะไม่สามารถขับโปตัสเซียมออกมาได้ ซึ่งทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรงการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์

หญ้าหนวดแมวมีโปรแตสเซียมสูงประมาณร้อยละ 0.7-0.8 มี Glycoside ที่มีรสขม ชื่อ orthsiphonin นอกจากนี้ก็พบว่ามี essential (0.2-0.6%) saponin alkaloid, organic acid และ fatty oil อีกด้วย จากรายงานพบว่ามีสารขับปัสสาวะได้ ยาที่ชงจากใบใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับไตได้หลายชนิดด้วยกัน ใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น โรคไตอักเสบ

** โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์ วีรสิงห์ เมืองมั่น และคณะ พบว่าได้ใช้ยาชงจากหญ้าหนวดแมว 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี. ดื่มต่างน้ำในคนไข้ 27 คน พบว่าทำให้ปัสสาวะคล่องและใส อาการปวดนิ่วลดลงได้และนิ่วขนาดเล็กลง และหลุดออกมาได้เอง มีผู้ป่วยร้อยละ 40 ผู้ป่วยหายจากปวดนิ่วร้อยละ 20 กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานเรื่องพิษเฉียบพลันว่าไม่มีพิษ

สารเคมีที่พบ
ต้น มี Hederagenin, Beta-Sitosterol, Ursolic acid
ใบ มี Glycolic acid, Potassium Salt Orthosiphonoside, Tannin, Flavone Organic acid และน้ำมันหอมระเหย

ที่มาของข้อมูล
www.rspg.or.th
รูปโดย Timetotree
ขนาดของดอกหญ้าหนวดแมวเมื่อเทียบกับมือครับ
ต้นหญ้าหนวดแมวจะขึ้นแตกเป็นกอครับ กิ่งอ่อน ชอบน้ำ
หญ้าหนวดแมว ดอกจะบานจากข้างล่างขึ้นบนครับ
ลักษณะของลำต้นหญ้าหนวดแมว
ยอดใบ และดอกอ่อนของหญ้าหนวดแมว
หญ้าหนวดแมว