ต้นพลูเหลือง หรือ ใบพลูกินหมาก ชื่ออื่นก็เช่น เปล้าอ้วน,ซีเก๊าะ ใบพลูเป็นใบไม้ที่คนสมัยก่อนนิยมนำมากินกับหมากครับ ใบคล้ายๆกับใบชะพลู หรือคล้ายกับต้นพริกไทย แต่ใบเล็กกว่า และเรียวกว่าครับ รูปใบเป็นรูปหัวใจชัดเจนครับ คนสมัยก่อนนิยมปลูกกันไว้ทุกบ้านครับ เพราะสมัยก่อนคนนิยมกินหมากกันมาก ใบพลูกจึงเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากๆครับ แต่สมัยนี้เลิกกินหมากกันหมดแล้ว เหลือแต่ผู้เฒ่าผู้แก่จริงๆ ถึงจะกินหมากกันครับ ทำให้ต้นพลูที่เอาไว้กิน หรือทานกับหมากนี้พลอยหายไปด้วยครับ แต่ก็ยังปลูกขายกันอยู่นะครับสำหรับเจ้าต้นพลูนี่ เพราะเอาไว้ทำเป็นหมากถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์แทนครับ เช่น ใช้ไหว้ศาลพระภูมิ ศาลเจ้าต่างๆ ศาลตายาย ไหว้ครูบาอาจารย์ที่ล่วงลับครับ หรือทำเครื่องบายศรีสู่ขวัญครับ แต่มีอีกตลาดที่ต้องการใบพลูมากนั่นคือตลาดแถบประเทศตะวันออกกลางครับ ประเทศที่นำเข้าใบพลูจากไทย ที่สำคัญก็มีประเทศปากีสถานและอัฟกานิสถาน ส่วนประเทศจีนก็นำเข้าไปใช้เป็นเครื่องยาสมุนไพร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper betle Linn.
วงศ์ : Piperaceae ( วงศ์เดียวกับต้นพริกไทยครับ )
ชื่ออังกฤษ : Betel
ชื่ออื่นๆ : เปล้าอ้วน ซีเก๊าะ (มลายู - นราธิวาส ) พลูจีน (ภาคกลาง)

สำหรับต้นพลูที่ถ่ายมานี้คือต้นพลูเหลือง หรือพลูจีนครับ
ลักษณะโดยทั่วไปของต้นพลูนั้นเป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาว์เนื้อแข็ง ลำต้นเป็นข้อๆเห็นได้ชัดเจนครับ และมักจะมีรากออกอยู๋ตามข้อด้วย ใบของต้นพลูเป็นใบชนิดใบเดี่ยว รูปหัวใจ ปลายใบแหลม ลายใบเป็นริ้วๆเห็นได้ชัดเจน ใบจะมีกลิ่นเฉพาะตัว ดอกจะออดกระจุกเป็นช่อแน่น เลื้อยไปตามที่ต่างๆที่สามารถเลื้อยได้ โดยจะมีรากคอยช่วยจับยึดบริเวณที่เกาะครับ

การขยายพันธุ์ต้นพลูเหลือง
ใช้กิ่งหรือลำต้น ที่แตกรากแล้ว ประมาณข้อที่ 4-5 เป็นต้นไป นำไปชำในดินหรือบริเวณที่ต้องการปลูกได้เลยครับ รดน้ำเช้าเย็นอย่าให้ขาด เท่านี้ก็ได้ต้นพลูต้นใหม่แล้วครับ ก่อนปลูกควรนึกถึงด้วยนะครับ ว่าจะให้เค้าเลื้อยไปทางไหน เลื้อยยังไง เช่นทำนั่งร้าน หรือให้เลื้อยขึ้นต้นไม้ เป็นต้น

สารเคมีที่พบในใบพลู
ใบพลูนั้นมีน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) ประกอบด้วย chavicol, chavibitol, cineol, eugenoi, carvacrol, caryophyllene, B-sitosterol และอื่นๆ สารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ โรคได้ ทำให้ปลายประสาทเกิดความชา แก้อาการคันได้ดี เนื่องจากยังไม่มีรายงานการศึกษา ฤทธิ์แก้แพ้ แก้อักเสบ จากสารประกอบ อาจจะ เป็นสารพวก B- sitosterol ที่ช่วยในการลดอาการอักเสบ

การใช้ใบพลูในการรักษา
ใบพลูใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ของคนสมัยก่อนครับ ได้ผลดีมากกับอาการลมพิษ โดยการนำเอาใบพลูมาสัก 1-2 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง แล้วทาบริเวณที่เกิดลมพิษ แต่ห้ามใช้กับแผลเปิดจะทำให้เกิดอาการแสบมาก ในใบพลูมีสารยูจีนอลและชาวิคอล มีฤทธิ์เป็นยาชาและช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด จึงมีประโยชน์ในการระงับอาการคันและเจ็บปวดเนื่องจากแมลงกัดต่อย ช่วยฆ่าและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของวัณโรคและเชื้อหนอง และมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลาก และพบว่าน้ำมันพลูสามารถใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ สารเบตาสเตอรอล มีฤทธิ์แก้แพ้ แก้อักเสบ นอกจากนี้ ใบพลูยังมีสรรพคุณซึ่งสามารถนำไปใช้แก้อาการอักเสบของเยื่อจมูกและคอ แก้กลาก แก้ฮ่องกงฟุต แก้คัน แก้ลมพิษ นำใบพลูไปลนไฟนาบท้องเด็ก ใบพลูสดคั้นเป็นน้ำ ช่วยขับลมในกระเพาะ แก้ปวดท้อง และแก้ลูกอัณฑะยาน เป็นต้น

ใบพลูยังสามารถใช้ชงดื่มเพื่อแก้อาการปวดหัวจากความเครียดได้อีกด้วยนะครับ โดยนำใบพลูมาคั่วให้แห้ง แล้วนำมาชงกับน้ำร้อน ดื่นแทนน้ำชา โดยใช้สัดส่วนใบพลูแห้ง 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ต้มจนเนื้อใบละลายออก ชงเก็บไว้ดื่มวันละ 3-4 ครั้ง จะช่วยลดอาการปวดหัวเนื่องจากความเครียดได้ครับ
ต้นพลูเหลือง ใบพลูจะมีรสเผ็ด นำใบพลูมาทาปูนแดง และนำมาเคี้ยวร่วมกับหมากสมัยก่อนนิยมทานหมากโดยใช้ใบพลูเขียว ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีพลูเหลืองครับ โดยพลูที่พบในไทยมีทั้งหมด 3 ชนิดครับ คือ พลูเขียว (สูญพันธุ์ไปแล้ว) พลูค้างทองหลาง และพลูเหลือง หรือพลูจีนครับ หลายคนมักเข้าใจผิดเหมาเอาพลูค้างทองหลางเป็นพลูเขียวอยู่เสมอ พลูเขียวจะมีลักษณะใบกลม เล็ก และหนา ขณะที่พลูค้างทองหลางมีใบเรียวยาวใหญ่และบางกว่า อีกทั้งรสชาติก็เผ็ดกว่าพลูเขียวมาก ส่วนพลูเหลืองนั้นมีรสจืดกว่า และใบโต นิ่ม สีของใบออกเหลืองสวย ใบมันเงางาม จึงกลายเป็นที่นิยมของผู้บริโภคหมากในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ทำให้ได้รับการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วแทนที่ต้นพลูเขียวไปในที่สุดครับ

ส่วนพลูค้างทองหลางกระจายตัวปลูกกันมากในเขตนครชัยศรี ลุ่มน้ำท่าจีน ส่งขายออกไปต่างประเทศแถบเอเชียใต้และตะวันออกกลาง โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบียที่ยังคงนิยมกินหมากพลูอยู่ โดยขนาดที่เป็นที่นิยมคือ ขนาดของใบพลูต้องใหญ่กว่า 4 นิ้วขึ้นไป และต้องไม่มีจุด หรือลอยด่างใดๆครับ กลับกันใบพลูเหลืองไม่สามารถส่งออกได้ครับเพราะไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากใบมีความบาง ช้ำง่าย ใบเสียเร็วกว่า ขายได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นครับ
ใบพลูเหลือง หรือพลูกินหมาก เมื่อเทียบกับมือครับ
ลักษณะลำต้นของ หรือกิ่งของต้นพลูเหลืองครับ
ต้นพลูเหลือง ต้นพลูเหลืองที่ถ่ายมานี้ผมปั่นจักรยานไปเจอเข้าโดยบังเอิญครับ เป็นบ้านของคุณยายที่ยังนั่งทานหมากกับใบพลูอยู่หน้าบ้าน ซึ่งหน้าบ้านแกเป็นถนนติดกับคลองบรรยากาศดีใช้ได้เลยครับ ส่วนตัวผมพึ่งจะเขียนเรื่องใบชะพลูไปหมาดๆ พอเห็นเข้าก็จอดรถขอคุณยายแกถ่ายรูปซะเลยครับ ต้นพลูเหลืองต้นนี้ปลูกอยู่ติดกับสารพระภูมิหน้าบ้านคุณยายครับ แกบอกปลูกมาหลายสิบปีแล้ว เก็บใบพลูมากินกับหมากเป็นประจำครับ