หางนกยูงไทย,ขวางยอย, จำพอ, ซำพอ, ซมพอ, ส้มผ่อ, ส้มพอ,พญาไม้ผุ หางนกยูงไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Caesalpinia pulcherrima Sw.
วงศ์: LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ดอกไม้สีส้มแดง เหลือง ลักษณะสำคัญคือมีหางเป็นเส้นๆแดงๆ ออกมาคล้ายหางนกยูง กลีบดอกมีสีแดงเหลืองส้ม ลำต้นมีหนาม เป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นขนาดเล็ก และแตกกิ่งก้านสาขามาก เรือนยอดจะโปร่งกิ่งก้านสาขาที่ยังอ่อนอยู่ เป็นสีเขียว ส่วนกิ่งที่แก่หรือเปลือกของต้นหางนกยูงไทยจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ลำต้นสูงประมาณ 3-4 เมตร เป็นไม้ใบรวม หางนกยูงไทยออกใบเป็นแผงซึ่งแผงๆหนึ่งมีใบย่อยอยู่หลายคู่ แต่ละคู่จะตรงข้ามกัน และใบย่อยตรงส่วนปลายจะไม่มีคู่ ลักษณะใบย่อยจะกลมมน ปลายใบมนแต่โคนใบแหลมออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ตามก้านใบ ก้านใบก้านหนึ่ง จะมีใบย่อยอยู่ราวๆ 8-12 คู่ ขนาดของใบย่อยกว้างประมาณ 0.5 นิ้ว ยาว 1 นิ้ว มีสีเขียว ออกดอกเป็นช่อ อยู่ตามปลายกิ่ง
หางนกยูงไทย,ขวางยอย, จำพอ, ซำพอ, ซมพอ, ส้มผ่อ, ส้มพอ,พญาไม้ผุ ดอกของหางนกยูงไทยมีอยู่หลายสีเช่น แดง เหลือง ชมพู ส้ม มีอยู่ 5 กลีบ กลีบใหญ่ 4 กลีบ กลีบเล็ก 1 กลีบ รูปช้อน ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อม ปลายแยกขอบของกลีบจะยับย่นเป็นเส้นลอน สีเหลือง เกสรอยู่กลางดอกเป็นเส้นงอนยาวโผล่พ้นเหนือดอกออกมา ดอกบานเต็มที่ราวๆ 1-1.5 นิ้ว
ลักษณะช่อดอกหางนกยูงไทย
ลักษณะทรงพุ่มของหางนกยูงไทย จะชูช่อดอกขึ้นด้านบน ข้อสังเกตุคือดอกจะออกเป็นช่อสูง และยาวขึ้นไปเลื่อยๆครับ
ลักษณะฝักของต้นหางนกยูงไทย โดยเมื่อฝักแห้ง เราจะแกะเอาเมล็ดหางนกยูงไทย ด้านในไปเพาะเป็นต้นกล้าต่อไปครับ
ลักษณะและรูปร่างของใบหางนกยูงไทย ใบหางนกยูงไทยประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ เรียงสลับมีใบย่อย 7-11 คู่ ใบย่อยออกเป็นคู่เรียงตรงข้ามกัน รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือเว้า ฐานใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวด้านหลังใบสีเข้มกว่าด้านท้อง
ลักษณะลำต้น กิ่งของหางนกยูงไทย จะเห็นได้ชัดว่ากิ่งของหางนกยูงไทย หรือลำต้นของหางนกยูงไทยนั้นจะมีหนามที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนครับ

สรรพคุณทางยา
ราก ของต้นดอกสีแดง ปรุงเป็นยา รับประทานช่วยขับประจำเดือน
ลักษณะทรงพุ่มโดยรวมของต้นหางนกยูงไทย ในภาพนี้ต้นหางนกยูงไทยเค้ายังไม่ใหญ่มากนะครับ สูงได้ประมาณ 4-5 เมตรครับ เป็นไม้พุ่มที่ชอบแดด หรือแดดครึ่งวันเป็นอย่างน้อยครับ เหมาะที่จะปลูกเป็นรั้วมากๆเพราะต้นของเค้ามีหนามด้วยครับ และกิ่งก้านของต้นหางนกยูงไทยจะเยอะ ปลูกเกาะกลุ่มเป็นแนวได้ดีครับ ต้นนี้ถ่ายที่สวนหลวง ร.9 ครับ

สรรพคุณของหางนกยูงไทย
ดอกหางนกยูงสีเหลืองสามารถนำมาต้มกับน้ำ แล้วใช้อมเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันได้ (ดอกของต้นดอกเหลือง)[3]
รากมีรสเฝื่อน นำมาต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้วัณโรคในระยะที่สาม (การนำมาใช้เป็นยาโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต้นที่มีดอกสีแดง) (รากของต้นดอกแดง)[1],[4]
เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็ด)[4]
รากใช้ปรุงเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (รากของต้นดอกแดง)[1],[4]
รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้บวม (ราก)[4]
ประโยชน์ของหางนกยูงไทย
เมล็ดในฝักสามารถนำมารับประทานได้ โดยแกะเอาเปลือกกับเมล็ดซึ่งมีรสฝาดทิ้งไป โดยเนื้อในเมล็ดจะมีรสหวานมันเล็กน้อย (เมล็ด)[2]
ดอกสามารถนำมาใช้บูชาพระได้[3]
นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะดอกมีความสวยงาม ปลูกได้ในดินทุกชนิดและยังมีความทนทาน ปลูกง่ายและขึ้นง่าย และยังเหมาะที่จะปลูกเป็นรั้ว เพราะหางนกยูงไทยบางสายพันธุ์จะมีหนามและกิ่งก้านเยอะ สามารถปลูกเกาะกลุ่มเป็นแนวได้ดี[2]
ในด้านความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถปลูกเพื่อจำหน่ายต้นกล้าเพื่อเป็นไม้ประดับและจำหน่ายดอกเพื่อหารายได้เสริมให้ครอบครัวได้[3]
นอกจากนี้ยังใช้ใบนำมาวางตามห้องหรือใกล้ตัวเพื่อป้องกันแมลงหวี่ หรือใช้ใบแห้งนำมาจุดไฟให้มีควันเพื่อไล่แมลงหวี่ได้[3]
เอกสารอ้างอิง
1.หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หางนกยูงไทย (Hang Nokyoong Thai)”. หน้า 333.
2.สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หางนกยูงไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [17 ก.ค. 2014].
3.เทศบาลตำยลอุโมงค์. “ดอกซอมพอ หรือ ดอกซอมภอ หางนกยูงไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: umongcity.go.th. [17 ก.ค. 2014].
4.โรงเรียนสองแคววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. “หางนกยูงไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:www.songkaew.ac.th. [17 ก.ค. 2014].