มะระหัวใจ หรือ มะระพันธุ์วาเลนไทน์ มะระ หรือ ผักไห่ เป็นไม้เลื้อยเขตร้อนในวงศ์แตง นิยมปลูกเพื่อใช้ผลและยอดเป็นอาหาร มีรสขม “มะระรูปหัวใจ”หรือมะระพันธุ์วาเลนไทน์ที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ให้มีความน่าสนใจมีรสไม่ขมมากเหมาะกับคนไทย ซึ่งเป็นมะระที่มีลักษณะแตกต่างจากมะระชนิดอื่นทั่วไป โดยผลเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายกับรูปหัวใจ จึงเป็นที่มาของชื่อ ขนาดไม่ใหญ่มาก มีสีเขียวสด ผิวเป็นมันเงา มีรสชาติไม่ขมมากและเนื้อกรอบ

ชื่อสามัญ : Bitter melon, Balsam pear, Bitter cucumber, Bitter gourd
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L.
วงศ์ : CUCURBITACEAE

ชื่อในภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ เช่น balsam apple, balsam pear, bitter cucumber, bitter gourd, bitter melon (สำหรับชื่อ bitter gourd หรือ biiter melon นี้มีที่มาจากชื่อจีนที่เรียกว่า 苦瓜)

นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งวิตามินซี วิตามินบี 1, 3 แคลเซียม ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีน ไฟเบอร์ ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม รวมถึงสารโมโมดิซิน ที่ช่วยในการเจริญอาหารและมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ด้วย ทำให้ตลาดมีความต้องการสูง ที่สำคัญยังปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตได้กับดินทั่วไป (รวน ทราย เหนียว) ทั้งยังให้ผลผลิตที่ดี เก็บผลผลิตจำหน่ายได้ทุกสัปดาห์ เก็บได้เรื่อย ๆ จนถึง 15-20 ครั้ง

ผลของมะระรูปหัวใจ หรือ มะระพันธุ์วาเลนไทน์ วิธีลดความขมของมะระ

คือก่อนที่เราจะนำไปประกอบอาหารให้นำมาแช่น้ำเกลือก่อน ในอัตราส่วนเกลือ 1 ช้อนชากับน้ำ 1 ลิตร และแช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีและเทน้ำทิ้ง แล้วนำมาแช่น้ำเปล่าอีกครั้งประมาณ 10 นาทีก่อนจะนำไปประกอบอาหาร ก็จะช่วยลดความขมของมะระลงได้ และที่สำคัญก็คือในขณะที่กำลังประกอบอาหารด้วยการทำต้มอย่างจืด ไม่ควรจะเปิดฝาทิ้งไว้หรือคนบ่อย ๆ เพราะจะทำให้มะระขมได้นั่นเอง

ปกติแล้วมะระมีรสขมมาก (เนื่องจากมีสาร Momodicine) จึงไม่ควรรับประทานมะระที่ผลสุก (โดยผลสุกจะมีสีเหลือง จนถึง ส้มแดง แตกต่างกับผลแก่ที่เรารับประทานซึ่งเป็นสีเขียว) เพราะการรับประทานผลสุกอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เพราะมีสารซาโปนิน (Saponin) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย และที่สำคัญไม่ว่าจะสุกหรือไม่ก็ตาม ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เพราะผลมะระมีฤทธิ์เป็นยาระบายวิธีลดความขมของมะระ

1. การปลูกในแปลง
การปลูกในแปลงสามารถปลูกด้วยวิธีการยกร่องแปลงสำหรับพื้นที่ลุ่มเป็นดินเหนียว และมีน้ำขัง ส่วนพื้นที่ที่ไม่มีปัญหาในเรื่องน้ำท่วมหรือน้ำขังอาจไม่จำเป็นต้องยกร่องก็ได้
การเตรียมดิน
– ทำการไถพรวนดิน พร้อมกำจัดวัชพืช และตากแดดประมาณ 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดดิน
– ทำแนวปลูกด้วยการขึงเชือกหรือกะระยะ ในระยะระหว่างแถว 1-1.5 เมตร
– ทำการไถตามจุดของแนวปลูกตามแนวยาวของแปลงให้เป็นร่องลึกประมาณ 30 ซม. เกษตรกรบางรายอาจไม่ไถเป็นร่อง และหว่านปุ๋ยทั่วตลอดแปลงซึ่งจะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองปุ๋ยเสียเปล่า แต่การหว่านปุ๋ยทั้งแปลงจะเหมาะสำหรับแปลงที่ยกร่องปลูก แล้วจึงไถกลบ
– หว่านโรยปุ๋ยหมักหรือมูลโค ปริมาณ 1000 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปริมาณ 30 กก./ไร่
– ทำการไถกลบหรือกลบแนวร่อง ตากดิน 2-3 วัน

การเตรียมกล้า
– ทำการเพาะกล้าในกระบะเพาะกล้า โดยใส่ดินผสมมูลสัตว์หรือวัสดุอื่นๆ เช่น ขี้เถ้า กากมะพร้าว เป็นต้น
– รดน้ำให้ชุ่ม วันละ 1-2 ครั้ง เช้า-เย็น
– กล้าที่เริ่มแตกใบ 4-6 ใบ หรือ 15-20 วัน สามารถนำมาปลูกได้

วิธีการปลูก
– การปลูกด้วยกล้ามะระ ให้ปลูกในระยะห่างของหลุม 1.5-2 เมตร
– การปลูกด้วยการหยอดเมล็ด ให้หยอดเมล็ด 1-2 เมล็ด/หลุม ในระยะห่างของหลุมเช่นเดียวกัน
– หลังการปลูกหรือหยอดเมล็ดเสร็จ ต้องรดน้ำหลุมปลูกให้ชุ่ม

การให้น้ำ
จะเริ่มให้น้ำตั่งแต่ปลูกเสร็จทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง จนถึงก่อนระยะการเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้าย 1-2 ครั้ง ซึ่งอาจให้น้ำด้วยระบบสเปรย์ ระบบน้ำหยด และการให้น้ำแบบแรงงานคน

การใส่ปุ๋ย และกำจัดวัชพืช
จะให้ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง นับตั้งแต่หลังการปลูกจนถึงประมาณ 1 เดือน ก่อนหมดผลเก็บเกี่ยว ปุ๋ยที่ให้ควรเป็นปุ๋ยคอกผสมกับปุ๋ยเคมีใน 2 ช่วง คือ
– ช่วงหลังปลูก-ก่อนออกดอก ใช้สูตร 16-16-8
– ช่วงเริ่มออกดอก-เก็บผล ใช้สูตร 12-12-24

ทั้งนี้ ให้กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย

การทำค้าง
ทำการทำค้างหลังการปลูกด้วยการขุดหลุมฝังเสาในระยะ 1.5-2 เมตร ของระหว่างหลุมตลอดตามแนวยาว ซึ่งอาจฝังตรงพร้อมกับทำค้างพาดตรงไปยังอีกแถวหรือโน้มเสาพาดทับกับอีกแถว โดยให้มีความสูงประมาณ 1.5-2 เมตร

2. การปลูกในกระถาง
– การปลูกในกระถางอาจใช้วัสดุที่เป็นกระถางพลาสติก กระถางดินเผาหรือกระถางประยุกต์จากวัสดุอุปกรณ์เหลือใช้ต่างๆ ซึ่งจะต้องเจาะรูระบายน้ำด้านล่าง
– วัสดุดินปลูกควรผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีในสูตรข้างต้นเพียงเล็กน้อย
– จำนวนหลุมหรือต้นที่ปลูกจะขึ้นอยู่กับขนาดกระถาง แต่โดยปกติจะปลูกกระถางละหลุมหรือกระถางต่อต้นเท่านั้น
– การปลูกอาจใช้วิธีการปลูกด้วยต้นกล้าหรือเมล็ด แต่การปลูกวิธีนี้มีเพียงปริมาณน้อยจึงนิยมใช้วิธีการหยอดเมล็ดเท่านั้น โดยใช้เพียง 1-2 เมล็ด/กระถาง
– หลังปลูกจะต้องให้น้ำทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
– การทำค้างใช้วิธีการปักไม้ในกระถางหรือทำค้ำยันนอกกระถาง

การเก็บเกี่ยว
มะระจีนสามารถเก็บเกี่ยวผลได้ใน 40-50 วัน หลังจากเมล็ดงอก และสามารถเก็บผลได้ต่อเนื่องจนถึงระยะ 90 วัน โดยจะเก็บผลที่มีลักษณะสีเขียวอ่อน ซึ่งอยู่ในระยะพอดี หากผลมีสีออกขาวถือเป็นระยะแก่ เนื้อจะหยาบ
ซุ้มที่มะระรูปหัวใจ หรือ มะระพันธุ์วาเลนไทน์ เลื้อยจนเต็ม คุณค่าทางอาหารในมะระ 100 กรัม
– ใยอาหาร 2.8 กรัม
– ขี้เถ้า 1.1 กรัม
– โปรตีน 1 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม
– ไขมัน 0.17 กรัม
– พลังงาน 17 กิโลแคลอรี
– วิตามิน A 380 มิลลิกรัม
– วิตามิน B1 0.04 มิลลิกรัม
– วิตามิน B2 0.4 มิลลิกรัม
– วิตามิน B3 0.4 มิลลิกรัม
– วิตามิน B5 0.212 มิลลิกรัม
– วิตามิน B6 0.043 มิลลิกรัม
– วิตามิน C 84 มิลลิกรัม
– สังกะสี 0.8 มิลลิกรัม
– แคลเซียม 19 มิลลิกรัม
– ทองแดง 0.034 ไมโครกรัม
– เหล็ก 0.43 มิลลิกรัม
– แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม
– แมงกานีส 0.089 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม
– โพแทสเซียม 296 ไมโครกรัม
– โซเดียม 5 มิลลิกรัม
ดอกของต้นมะระรูปหัวใจ หรือ มะระพันธุ์วาเลนไทน์
มะระรูปหัวใจ ที่แก่จัดและกำลังจะเริ่มสุก แหล่งอ้างอิง
www.bittermelon.org
www.thaihealth.or.th
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
puechkaset.com