ต้นคล้าแววมยุรา,Peacock Plant, Cathedral Windows, Brain Plant .
ใบไม้ที่มีลวดลายแสนสวย แต้มจุดเป็นวงคล้ายกับลายของหางนกยูง ต้นนี้ชื่อต้นคล้าแววมยุราครับ

ชื่อ : คล้าแววมยุรา
ชื่อสามัญ : Peacock Plant, Cathedral Windows, Brain Plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calathea makoyana (E.Morr.) E.Morr.
ถิ่นกำเนิด : แถบตะวันออกของประเทศบราซิล

ต้นคล้าแววมยุราจัดเป็นไม้มงคลของไทยครับนิยมปลูกกันมากเพราะมีใบที่สวยงามเหลือเกินที่จะบรรยายได้ครับ คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นคล้าไว้ประจำบ้าน จะช่วยคุ้มครองรักษาผู้อยู่อาศัยให้มีความสงบสุข เพราะ คล้า หรือคลุ้ม คือ การคุ้มครอง ปกป้องรักษาและคนโบราณยังเชื่ออีกว่า คล้า หรือ คล้าคลาด คือการคลาดแคล้วคลาดภัยศัตรูทั้งปวง นอกเหนือจากนี้คนไทยโบราณยังเรียกคล้าว่า พุทธรักษาน้ำ ดังนั้นจึงถือว่าคล้าเป็นไม้มงคลนาม คือ มีพระพุทธเจ้ารักษานั่นเอง ขอให้ดูจากรูปเอานะครับ ต้นคล้าแววมยุราเป็นต้นไม้ที่เลี้ยงและดูแลง่ายมากๆครับ

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นคล้าแววมยุราไว้ทางทิศตะวันออกของตัวบ้าน ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบสูง และประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

การปลูกและขยายพันธุ์คล้าแววมยุรา
คล้าแววมยุราเป็นต้นไม้ที่ชอบแดดรำไร หากโดนแดดจัดๆใบจะไหม้ครับ คล้าแววมยุราเป็นพืชที่ต้องการความชื้นพอสมควร ดินที่ใช้ควรเป็นดินที่มีส่วนผสมของพวกใบไม้ผุ กาบมะพร้าว แกลบมากๆ เพื่อความร่วนซุยของดิน หากดินแน่นเกินไปคล้าแววมยุราจะโตไม่ค่อยดีครับ การขยายพันธุ์คล้าแววมยุรานั้นจะนิยมวิธีแยกกอครับ ควรแยกต้นใหญ่ๆออกจากกันไปเลยครับ เพราะเค้าจะแตกออกได้เร็วกว่าการแยกหน่อเล็กๆครับ
ด้านหลังของคล้าแววมยุราใบจะออกสีแดงตามสีของก้านใบนะครับ
ใบคล้าแววมยุราเมื่อเทียบกับมือครับ
ลักษณะกอของต้นคล้าแววมยุราครับ คล้าแววมยุรานั้นเหมาะกับการนำมาจัดสวนในร่มมากๆนะครับ การนำคล้าแววมยุรามาจัดสวน ควรเลือกนำมาจัดในบริเวณที่ใกล้ๆกับผู้คนซักหน่อยนะครับ เช่นทางเดิน บริเวณที่นั่งพักผ่อน ตามโคดหิน ตามรั้ว เพราะเราจะได้เห็นลายสวยๆของใบคล้าได้อย่างชัดเจนสวยงามครับ ถ้าเอานำคล้าแววมยุราไปปลูกในที่ไกลๆสายตาเราจะไม่เห็นความสวยของใบเค้าสักเท่าไหร่ครับ ควรปลูกให้แน่นๆ คลุมผิวดินให้หมด จะช่วยรักษาความชื้นในดินไว้ได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้เราไม่ต้องลดน้ำบ่อย แถมลายจุดๆวงกลมของต้นคล้าแววมยุราก็จะโดดเด่นขึ้นอีกด้วยครับ

การปลูกเลี้ยง

ธรรมชาติของคล้ามักขึ้นตามป่าที่มีดินแฉะหรือมีน้ำขัง เจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น(18-30 อาศา เซลเซียส) ความชื้นสูง แสงรำไร ลมโกรกน้อย แตก็มีบางสกุลที่ทนอุณหภูมิต่ำมากๆ ได้ ใบของคล้าจะไวต่อแสง แดด ความชื้น และอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมมาก เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม เช่นในฤดูฝน ใบจะมีสีสันและ ลวดลายสวยงาม แต่ถ้าได้รับแสงแดดจัดขณะที่มีคามชื้นในอากาศน้อยและอุณหภูมิสูง เช่นในฤดูร้อนหรือฤดู หนาว จะทำให้ เกิดรอยไหม้บนใบหรือขอบใบแห้ง ส่วนวัสดุปลูกนั้นต้องมีความชุ่มชื้น มีการระบายน้ำดี และมี อินทรียวัตถุปนอยู่บ้าง เช่น ดินปนทราย

การขยายพันธุ์

ควรทำในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝน วิธีที่นิยมกันคือการแบ่งเหง้าหรือหัวที่โตเ๖มที่มาปลูกใหม่ ราว 2 - 3 สัปดาห์ ต้นใหม่ก็จะเริ่มตั้งตัวได้และเริ่งผลิใบใหม่ขึ้น ส่วนการเพาะเมล็ดจะให้ผลช้ากว่า และต้นที่ได้อาจมีการ กลายพันธุ์จากต้นเดิมจึงไม่นิยม ยกเว้นทำเพื่อผลิตลูกผสม

โรคและแมลงศัตรู

โรคที่พบมาก คือ โรคใบจุดสนิม เกิดจากเชื้อรา จะมีจุดสีน้ำตาลกระจายทั่วใบ ระบาดมากในฤดูหนาว ส่วนแมลงศัตรูที่พบได้แก่ เพลี้ยแป้ง ตั๊กแตน หนอนบุ้ง และไรแดง

ปัจจุบันคล้าที่ปลูกกันอยู่ในประเทศไทยมีทั้งชนิดที่เป็นพืชพื้นเมืองของไทยและนำเข้ามาจากต่างประเทศ ได้แก่ สกุล Calathea, Ctenanthe(สาคูทอง), Donax(คลุ้ม), Maranta(สาคู), Phrynium(สาดแดง สาดขาว), Schumannianthus(คล้า), Stachyphrynium(คล้า), Stromanthe และ Thalia(พุทธรักษาน้ำ) เป็นต้น นิยมปลูกเป็น ไม้ประดับ ใช้เป็นไม้ตัดดอก บางชนิดใช้เป็นอาหาร เช่น สาคู หรือใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค และ ยังใช้ ประดิษฐ์เป็นเครื่องจักสานได้อีกด้วย