มะเขือเปราะ,มะเขือขื่น, มะเขือเสวย,Yellow berried nightshade .
ลูกกลมลายสีเขียวๆที่เรามักทานกับน้ำพริกเป็นผักจิ้ม ขนมจีน หรือใส่แกงต่างๆ คือมะเขือเปราะครับ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum xanthocarpum Schrad. & Wendl.
ชื่อสามัญ : Yellow berried nightshade
วงศ์ : Solanaceae
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย
ชื่ออื่นๆ : มะเขือขื่น มะเขือเสวย (ภาคกลาง), มะเขือขันคำ มะเขือคางกบ มะเขือดำ มะเขือแจ้ มะเขือจาน มะเขือแจ้ดิน (เหนือ) ,เขือพา เขือหิน (ใต้) ,มั่งคอเก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , มะเขือหืน (ภาคอีสาน)

มะเขือเปาะเป็นไม้พุ่มขนาด 1-2 เมตรโดยประมาณ มีอายุอยู่ได้หลายปี ปัจจุบันมะขือเปราะมีทั้งพันธุ์พื้นบ้าน มะเขือเปราะพันธุ์เขียวเสวย มะเขือเปราะพันธุ์เจ้าพระยา มีลักษณะคล้ายมะเขือขื่น หรือมะเขือแจ้ (ภาคเหนือ) มีความขื่นน้อยกว่า หรือไม่มีเลย และยังคงมีการพัฒนาสายพันธุ์อยู่เลื่อยๆ เพราะเป็นพืชเศรฐกิจ มีความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่อง

ลักษณะโดยทั่วไปของมะเขือเปราะ
ใบมะเขือเปราะ : มีขนาดใหญ่ เรียงตัวแบบสลับ
ดอกมะเขือเปราะ : มีขนาดใหญ่ สีม่วงหรือสีขาว เป็นดอกเดี่ยว ( และยังเป็นดอกไม้สำหรับประเพณีไหว้ครูด้วยครับ )
ผลมะเขือเปราะ : มีรูปร่างกลมแบนหรือรูปไข่ อาจมีสีขาว เขียว เหลือง ม่วง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผลเมื่อแก่มีสีเหลือง เนื้อในผลสีขาว -เขียว มีเมือก รสขื่น
เมล็ดมะเขือเปราะ : สีออกน้ำตาล,ส้ม , เหลือง

สรรพคุณ และประโยชน์ของมะเขือเปราะ

มะเขือเปราะมีธาตุอาหารและประโยชน์ต่างๆดังนี้
มะเขือเปราะมี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 2 วิตามินซี และมีธาตุเหล้กและแคลเซียมบ้าง เปลือกมีสารอาหารมากกว่าเนื้อ รับประทานได้ทั้งเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก และปรุงอาหารหลายอย่าง ในต่างประเทศเรียกว่าว่า มะเขือไทย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งแกงเผ็ด มะเขือเปราะในแกงจะอ่อนหนุ่ม ดูดเอารสชาติของแกงไว้มาก ทำให้แกงมีเนื้อและข้นมากขึ้น เมื่อสุกจะมีรสหวานอ่อนๆ ช่วยปรับรสแกงให้กลมกล่อม

มะเขือเปราะ 100 กรัม
ให้พลังงาน 39 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม น้ำ 90.2 กรัม วิตามินเอรวม 143 RE. วิตามินซี 24 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมะเขือเปราะ

- มะเขือเปราะช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ ลดความดันเลือด
- มะเขือเปราะช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมะเขือเปราะมีสรรพคุณคล้ายกับอินซูลินลดปริมาณน้ำตาลในเลือด คนเป็นเบาหวานที่มีมะเขือเปราะเป็นผักคู่ใจเลยอาการดีวันดีคืน

- มะเขือเปราะช่วยขับพยาธิ ลดการอักเสบ
- มะเขือเปราะช่วยให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดี
- มะเขือเปราะมีประโยชน์ต่อตับอ่อน ทำให้ตับแข็งแรงทำงานได้มีประสิทธิภาพ

สรรพคุณของมะเขือเปราะ
- มะเขือเปราะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดฆ่าเชื้อแบคทีเรียและขับปัสสาวะ
- การแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม
- ผลใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศ ประชากรในแคว้นโอริสสาของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน งานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่า ผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด

- ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่

- พบว่าฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว

- สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้ ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ
- งานวิจัยที่แคว้นโอริสสา ประเทศอินเดีย ใช้สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานอะล็อกซาน พบว่าได้ผลลดน้ำตาลในเลือดดีเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide)

การขยายพันธุ์มะเขือเปราะ : ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ สามารถขึ้นได้ดีในทุกสภาพดิน ต้องการน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แต่ในกรณีต้นใหญ่ๆ หรือต้นที่ปลูกใกล้น้ำก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวันแต่อย่างใด
ผลอ่อนของมะเขือเปราะ
ผลสุกของมะเขือเประาจะมีสีเหลือง
ดอกมะเขือเปราะสีม่วง
ลักษณะของใบ และยอดของมะเขือเปราะ
ลักษณะลำต้นของมะเขือเปราะ
ทรงพุ่มของต้นมะเขือเปราะ (ในรูปทรงพุ่มกว้างประมาณ 1.5 เมตร)