บัวไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง,Nymphaea gigantia Albert de Lestang บัวสีขาวดอกมีกลีบซ้อนกันหลายชั้น กลีบมีหยักพลิ้วก่อนถึงปลายกลีบ ปลายกลีบมีสีออกฟ้าอมม่วง เกสรสีเหลือง ใบสีเขียวสด ต้นนี้คือ บัวไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง
จุดเด่นคือเป็นดอกบัวที่มีกลีบหยักพลิ้วนิดๆบริเวณปลายกลีบดอก และดอกมีขนาดใหญ่ ทน มีเกสรสีเหลืองปุกปุยจำนวนมาก ปลายกลีบสีจะอมฟ้า อมม่วง สามารถบานได้ 4-5วัน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nymphaea gigantia Albert de Lestang
ชื่อสามัญ: Albert de Lestang
ชื่อไทย: ไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง
ถิ่นกำเนิด: สหรัฐอเมริกา

ลักษณะทั่วไปของบัวไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง
ใบรูปไข่ ขอบใบหยักแหลมไม่เป็นระเบียบ ปลายใบเว้ากว้าง
ใบอ่อน : ด้านบนสีเขียวใบตองอ่อน ด้านล่างใบสีเขียวอมนํ้าตาลอ่อน เส้นใบสีเขียวอ่อน
ใบแก่ : ด้านบนสีเขียว ด้านล่างใบสีเขียวอ่อน นํ้าตาลอมม่วงจาง ๆ เส้นใบสีเขียวนูนเห็นได้ชัดเจน

ก้านใบ – ก้านดอก
ก้านใบ : สีเขียว
ก้านดอก : สีเขียว

ดอกบัวไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง
ดอกตูม : ทรงดอกกลีบเลี้ยงสีเขียว ที่ปลายดอกเมื่อกำลังจะแย้มจะเป็นสีม่วงอมฟ้าชัดเจน
ดอกบาน : ดอกบานแผ่รูปครึ่งวงกลม มีขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร กลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกปลายหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบเลี้ยง กลีบดอก โคนและปลายเรียวกลีบเลี้ยงด้านนอกสีเขียว ปลายกลีบมีสีม่วงอมฟ้า กลีบดอกสีขาวอมม่วงเล็กน้อย เกสรเพศเมียสีเหลืองดูปุกปุย ก้านเกสรเพศผู้และอับเรณูสีเหลือง ดอกดกทยอยออกตามกัน มีดอกหลายชุด โดยรวมบัวไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง เป็นบัวที่ดอกดก และมีขนาดใหญ่ สามารถบานได้นาน 4-5 วัน บานช่วงเช้าถึงช่วงเย็น หรือช่วงที่ได้รับแสงแดดครับ

การขยายพันธุ์บัวไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง
นิยมใช้การแยกหน่อเป็นหลักนะครับ เพื่อจะได้เหมือนต้นแม่ การซื้อเมล็ดบัวมาเพาะเลี้ยงเองอาจได้ต้น และสีที่แปลกออกไปจากต้นแม่ครับ
ดอกบัวไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง,Nymphaea gigantia Albert de Lestang ดอกนี้บานมาหลายวันแล้วครับ สีเลยซีด ยังพอเห็นหยัก หรือความพลิ้วที่ปลายกลีบอยู่บ้างนะครับ
ขนาดของดอกบัวไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง,Nymphaea gigantia Albert de Lestang ดอกที่ถ่ายมานี้ยังถือว่าเล็กนะครับ และยังไม่งามเต็มที่ของบัวพันธุ์นี้ครับ
บัวไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง,Nymphaea gigantia Albert de Lestang
ดอกตูมของบัวไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง,Nymphaea gigantia Albert de Lestang
ลักษณะกอของบัวไจแกนเตีย อัลเบิร์ต เดอ เลสแตง,Nymphaea gigantia Albert de Lestang ดินและการเตรียมดิน

ดินปลูก
ดินปลูกบัวที่เหมาะสมที่สุดต้องดินที่ธาตุโปแตสเซียมค่อนข้างสูง เช่น ดินเหนียว ดินท้องนา ดินท้องร่วงสวนขุดใหม่ ไม่ควรใช้ดินที่มีซากอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายไม่หมดเพราะจะทำให้น้ำเน่าเสียได้
การเตรียมดิน
นำดินเหนียวที่ได้ตากแดดให้แห้งทุบย่อยให้มีขนาดเล็กลง (ดินเหนียวถ้าแห้งจริง ๆ แล้วจะแตกง่าย) เก็บเศษวัชพืช ที่ติดมากับดินออกให้หมด แบ่งดินที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำไปผสมเพื่อทำเป็นดินปลูกอีกส่วนหนึ่งเป็นดินเปล่า ๆ ไม่ต้องผสมอะไรทำเป็นดินปิดหน้า
สูตรดินผสม

ดิน 10 ส่วน
ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
ร๊อคพอสเฟท 1 กำมือ/ดิน บุ๋งกี๋
ธาตุอาหารรอง 1 กำมือ/ดิน10 1 บุ๋งกี๋
ปุ๋ยคอกที่ใช้ผสมดินจะเป็นมูลอะไรก็ได้ แต่จะต้องให้แห้งและจะต้องไม่มีวัตถุอื่นเจือปนในกรณีที่ใช้ปุ๋ยคอกเป็นมูลไก่หรือ มูลค้างคาวให้เพิ่มดินเป็น 15 ส่วน ทั้งนี้เพราะมูลทั้ง 2 ชนิดมีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงอาจเป็นโทษต่อบัวได้
วิธีการปลูก

บัวแต่ละชนิดมีวิธีการปลูกต่างกันตามลักษณะของวัสดุปลูกและการเจริญเติบโตสำหรับการปลูกด้วยวัตถุประสงค์ให้เป็น ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุปลูกคือ ส่วนของพืชที่ขยายพันธุ์ (Vegetative propagation) ได้แก่ หน่อ ไหลที่แตกต้นใหม่ เหง้า บัว และต้นอ่อนที่เกิดจากหัวหรือต้นแม่บัวแต่ละชนิดมีวิธีปลูกดังนี้
ส่วนที่ขยายพันธุ์ปลูกคือไหลที่กำลังจะแตกต้นอ่อน ต้นอ่อนที่เกิดจากไหลและเนื่องจากการเจริญเติบโตของบัวหลวง สามารถสร้างไหลเจริญตามแนวนอนใต้ผิวดินไปได้ทุกทิศทางและเร็วมาก การปลูกจึงแทบไม่มีกฎเกณฑ์อะไร เพียงแต่ ฝังไหลในจุดที่ต้องการใต้ผิวดิน 8-12 เซนติเมตร กลบอัดดินให้แน่นถ้าไม่มีต้นอ่อนฝังกลบทั้งไหลบัวจะเจริญและแตก ต้นอ่อนขึ้นมาเอง ถ้ามีต้นอ่อนก็ให้ส่วนยอดของต้นที่อ่อนโผล่เหนือดินและไม่ต้องห่วงมากนักเรื่องที่จะให้พ้นน้ำอยู่ใต้ ผิวน้ำสัก 10-15 เซนติเมตรก็ได้ไหลบัวหลวงที่ผู้เรียบเรียงสั่งมาจากต่างประเทศเป็นไหลแก่หรือเหง้าไม่มีใบเลย มีแต่ ส่วนข้อและยอดที่จะแตกต้นใหม่ปลูกแช่ในน้ำลึก 30 เซนติเมตร เพียง 3-4 สัปดาห์ก็แตกใบขึ้นพ้นน้ำ


บัวฝรั่ง
วัสดุปลูกส่วนใหญ่จะเป็นเหง้าที่มีหน่องอกต้นแล้วซึ่งจะอยู่ส่วนปลายของหน่อหรือเหง้า เนื่องจากการเจริญเติบโตตาม แนวนอนริมอ่างใต้ผิวดิน 3-4 เซนติเมตร อัดแน่นในส่วนปลายหันเข้ากลางอ่างอุบลชาติจะเจริญเติบโตและเลื้อย จาก ริมอ่างด้านหนึ่งไปชนริมอ่างอีกด้านหนึ่งและจะชงักการเจริญเติบโตใบเล็กลงไม่ค่อยออกดอก หักเหง้าส่วนปลายหันกลับ ปลูกใหม่ ให้วิ่งย้อนกลับใช้หลักการเดียวกันกับปลูกโดยตรงในบ่อคอนกรีต พลาสติกหรือบ่อดิน คูคลอง ฯลฯ การปลูก แบบนี้โดยเฉพาะในบ่อกว้างที่ปลูกโดยตรงอุบลชาติจะเจริญแตกหน่อ ขยายเหง้า แผ่ออกไปเหมือนรูปพัด แต่ถ้ามีวัตถุ ประสงค์ที่จะปลูกให้เจริญเป็นกระจุกหรือวงกลมแนะนำให้ปลูกจุดละ 3 เหง้า วางเป็นรูป 3 เหลี่ย หรือ 3 ศร
อุบลชาติจะเจริญและแผ่เป็นรูปวงกลมแต่ถ้ามีพันธุ์น้อย ปลูกเหง้าเดียวแล้วค่อยหักปลายเหง้าที่แตกใหม่เข้าทิศทางที่


บัวทุกชนิด (หรือต้นไม้ทุกชนิด) ปลูกไม่ยาก สำหรับบัว การดูแลรักษาถ้าปลูกเป็นไม้ดอก-ไม้ประดับในบ้านเพียงไม่กี่ต้น เช่น ปลูกภาชนะจำกัดเป็นอ่าง ๆ หรือบ่อเล็ก ๆ ในสวนหย่อมไม่ยากเลย งานเบามาก เด็ก สตรี และคนชราก็ทำเองได้แต่ ถ้าปลูกในบ่อพลาสติกหรือบ่อดินขนาดใหญ่มีบัวเป็นสิบ ๆ ต้น งานดูแลรักษาไม่หนักแต่ใช้เวลามาก
หลักเกณฑ์และวิธีการดูแลรักษาที่สำคัญได้แก่
1. ป้องกันน้ำเสีย
โดยเฉพาะการปลูกในภาชนะจำกัดและขนาดเล็กปริมาณน้ำน้อยบัวก็เหมือนกับปลา ต้องการอากาศหายใจในน้ำถ้าน้ำเสีย อ๊อกซิเย่นไม่มีจะพาลตายได้ง่าย เด็ดใบแก่ดอกโรยทิ้งเสียก่อนจะเน่าในภาชนะหรือบ่อที่ปลูกถ้าไม่จำเป็นไม่ควรแก้ไข โดยการถ่ายน้ำเปลี่ยนน้ำใหม่บ่อย ๆ เพราะจะต้องทำให้บัวต้องปรับตัวเองตามจะเจริญเติบโตช้าแต่ถ้าจำเป็นด้วยเหตุ เช่น มีสัตว์ตายอยู่ใต้ดินปลูก ได้แก่ กิ้งกือ ไส้เดือน หรือคางคกลงไปปล้ำกัดกันตายหรือออกไข่-ออกลูกจนน้ำเน่าเสีย หรือ อินทรีย์วัตถุที่ติดมากับดินปลูกยังเน่าเปื่อยไม่หมดทำให้น้ำเน่า ถ่ายน้ำ 2-3 ครั้ง แล้วยังไม่หายต้องเปลี่ยนดินปลูกใหม่
2. ปราบตะไคร่น้ำ-สาหร่าย
ตะไคร่น้ำที่เกิดจากอินทรีย์วัตถุ เช่นมูลสัตว์ที่ใช้เป็นปุ๋ยคลุกที่ยังไม่สลายตัวเต็มที่ สาหร่ายอาจติดมากับดินปลูกเก็บทิ้ง ถ้าปลูกไม่กี่ต้น ถ้าปลูกมากแต่ปลูกในภาชนะจำกัดใช้ด่างทับทิมละลายน้ำในภาชนะปลูกเป็นสีบานเย็นเข้มทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ่ายน้ำออกครึ่งหนึ่งเก็บตะไคร่สาหร่ายที่ตายออกเติมน้ำใหม่ตามเดิม
3. เก็บคราบน้ำมัน
ไขมันจากกระดูกป่นหรืออินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยไม่หมดและการปลูกที่อัดดินไม่แน่น ดินกลบกลบดินผสมเบื้องล่าง ไม่สมบูรณ์ ไขมันจะละลายเป็นฝ้า ถ้าปลูกในอ่างหรือในภาชนะจำกัดใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปะลอยบนผิวน้ำจะช่วยซับ คราบน้ำมันออกถ้าปลูกในบ่อที่มีท่อน้ำล้น ปล่อยน้ำดันให้น้ำผิวหน้าไหลล้นออกทางท่อระบายน้ำ
4. ต้นและรากลอย
เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้ที่สนใจเลิกปลูกบัวไปหลายราย โดยเฉพาะอุบลชาติ เช่น เมื่อปลูกใหม่ ๆ ถ้ากดอัดดินทับไม่แน่น ต้นเหง้าลอย รากดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้นไม่ได้สังเกตได้ง่ายที่สุด ไม่โตสักที ใบเล็กลงและใบเหลือง แก่เร็ว แก้โดย การปลูกใหม่ และหาไม้ไผ่อ่อนพับครึ่งคล้ายปากเคียเสียงคร่อนต้นที่ปลูกกันไม่ให้ลอย (ชาวสวนปลูกบัวเรียกตะเกียบ) สำหรับต้นแก่ที่ปลูกไว้นานแล้ว โดยเฉพาะในภาชนะที่จำกัดอุบลชาติประเภทยืนต้นเจริญทางนอนจนไปชนอีกผนังของ อ่างหรือบ่อในหลายกรณีจะหักขึ้นบนเจริญขึ้นไปจนรากลอยตัดเหง้าที่ไม่ต้องการทิ้ง ปลูกใหม่
5. ที่ปลูกร้อนเกินไป
บัวทุกชนิดต้องการแดดเต็มที่ จะมีปัญหาถ้าที่ปลูกบัวตื้นน้ำน้อยแดดเผาน้ำจนร้อน สังเกตง่าย ๆ ขนาดน้ำอุ่นพอที่จะอาบได้ สบาย ๆ ก็ถือว่าร้อนแล้วสำหรับบัว บัวต้องการแดดเต็มที่วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ขยับที่ปลูกเสียใหม่ถ้าปลูกในภาชนะ ที่เคลื่อนย้ายได้หรือเปลี่ยนภาชนะที่ปลูกให้น้ำลึกขึ้น หรือถ้าเปลี่ยนอะไรไม่ได้และที่ปลูกได้แดดทั้งวัน ใช้มุ้งลวดหรือ มุ้งพลาสติกกันด้านบนเพื่อลดความเข้ม-ร้อนของแสง
6. ดินจืด
มี 2 สาเหตุ คือ ขาดปุ๋ย หรือขาดดิน (ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด) สังเกตได้ง่าย ๆ ถ้าบัวใบเล็กลง เหลืองแก่เร็ว ถ้าปลูกใน บ่อดินที่เหลือเฟือก็คือขาดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยสูตรกลาง ๆ ทั่วไป เช่น 10-10-10, 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือปุ๋ยสำหรับบัว โดยเฉพาะถ้าปลูกในภาชนะจำกัดที่สามารถอัดปุ๋ยได้ในการจุ่มมือครั้งเดียว จะใช้ปุ๋ยห่อกระดาษอ่อนที่ใช้เข้าห้องน้ำหรือ กระดาษหนังสือพิมพ์อัดฝังโคนต้นบัวเลย แต่ถ้าต้องใช้เวลาในการฝังปุ๋ยทำปุ๋ย ลูกกอนำโดยปั้นดินหุ้มปุ๋ยผึ่งแห้งเตรียมไว้ จะใช้เมื่อไรก็ฝังโคนต้นสำหรับปริมาณใช้เท่าไรขึ้นอยู่กับการสังเกตและศึกษาเองของผู้ปลูก เพราะภาชนะปลูกเล็ก-ใหญ่ ต่างกันปริมาณน้ำปลูกมากน้อยต่างกัน ปลูกในบ่อดิน บ่อคอนกรีต พันธุ์ชนิดบัว ฯลฯ จึงไม่สามารถกำหนดเป็นเกณฑ ์ตายตัวได้ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด อีกสาเหตุคือขาดดิน บัวจะออกรากขยายเหง้า ฯลฯ ดันดินพ้นภาชนะละลายไปอยู่กั น้ำจนในที่สุดแทบจะไม่มีดินเหลืออยู่เลย ราก-เหง้าอัดภาชนะเต็มไปหมด แก้โดยรื้อเปลี่ยนดินปลูกใหม่
7. โรค-แมลงศัตรู
ที่พบเป็นประจำ คือ โรคใบจุดและรากเน่าโรคใบจุดไม่ร้ายแรง เพราะใบบัวมีพื้นที่ปรุงอาหารมากเด็ดใบเป็นโรคทำลาย ทิ้งไป โรครากเน่ามีบ้างร้ายแรงกับบัวกระด้งและอุบลชาติ ประเภทล้มลุกบางพันธุ์ ยังไม่ทราบวิธีแก้ นอกจากนั้น คือ เก็บดินบริเวณที่เป็นโรคทำลายทิ้งเสียเลี่ยงไปปลูกบัวชนิดอื่น หรืออุบลชาติประเภทอื่นแทน แมลงที่สำคัญกินบัว ทุกชนิดคือ เพลี้ยและหนอนบัวหลวงเดือดร้อนมากที่สุด เพราะชูใบขึ้นมาให้เพลี้ยเกาะกินบัวชนิดอื่นถูกทำลายบ้างแต่ ใบลอยน้ำฝนตกน้ำกระเพื่อมก็ช่วยซัดเอาเพลี้ยหลุดลอยไปได้บ้าง (ปกติผู้ปลูกเป็นการค้าจะพ่นน้ำให้ลอยหลุดไป) ป้องกันโดยเด็ดใบที่มีเพลี้ยและหนอนท้ง-ทำลายหนอนพับหนอนพับใบเป็นศัตรูที่สำคัญของอุบลชาติ เช่นผีเสื้อ กลางคืนจะมาวางไข่บนใบเมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินดูดน้ำเลี้ยงใบจนโตแล้วกัดใบพับทับตัวเองเพื่อป้องกันศัตรู เช่น นก ฯลฯ ป้องกันกำจัดโดยการบี้ทำลาย บัวหลวงมีศัตรูหนอนมากที่สุดนอกเหนือจากเพลี้ยไฟซึ่งเก่ากินใต้ใบ หนอนกระทู้หนอนชอนใบ โดยเฉพาะหนอนกระทู้กินใบ โกร๋นทั้งต้นซึ่งจะเกิดในช่วงปลายฤดูฝนและในฤดูหนาวซึ่ง เป็นระยะที่บัวชงักการเจริญเติบโตด้วย กสิกรที่ปลูกบัวหลวงเป็นการค้ามักจะตัดใบทิ้ง-ทำลายหมด(ให้หมดเชื้อของหนอน) รอให้ใบแตกใหม่-ออกดอกใหม่ แมลงที่กล่าวทั้งหมดสามารถปราบและควบคุมได้พอสมควรโดยใช้ยาอะโซดริน 60 ผสมน้ำอัตราส่วนน้ำยา 1:100 (1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นให้เป็นฝอยให้จับหน้าของใบบัวบาง ๆ ใบจะดูดน้ำยาเข้าไว้ เมื่อแมลงและหนอนมาดูดกินน้ำเลี้ยงของใบจะกินยาเข้าไปด้วยและตาย ฉีดพ่นทุก ๆ สัปดาห์จนกว่าจะหมดศัตรูฉีดบาง ๆ จะไม่เป็นอันตรายทั้งกับคนและปลาที่เลี้ยง
8. หอย
ส่วนใหญ่ได้แก่หอยขมและหอยคันเป็นทั้งมิตรและศัตรู หอยโข่งเป็นศัตรูที่จงใจ แต่หอยขมเป็นศัตรูที่ตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจ บ้างคือเมื่อตอนเป็นต้นอ่อนจะอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากรากและใบอ่อนที่เกิดใหม่ ๆ ใต้น้ำ โดยเฉพาะอุบลชาติบัวหลวงไม่ค่อย เดือดร้อนเพราะมีสารที่เรียกว่า ดิวติน เคลือบอยู่ และก้านใบก้านดอกมีหนามเล็ก ๆ (บัวกระด้งหนามเต็มต้นไม่เดือนร้อน เลย) หอยขมและหอยโข่งเมื่อโตขึ้นจะเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบเกาะดูดน้ำเลี้ยงจากไข่-ตัวหนอน และน้ำเลี้ยง ใบกินระหว่างเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบ ถ้าน้ำกระเพื่อมกระเทือนจะหุบก้าน ปล่อยตัวหลุดจากก้านบัวเมื่อก้านหุบ ก็เลยเหมือนมีดตัดก้านบัวที่ยังอ่อน ๆ ขาดไปด้วยเป็นปัญหาใหญ่ของการปลูกในบ่อดินป้องกันกำจัดโดยการเก็บทิ้งและ ปลูกอุบลชาติเผื่อไว้มาก ๆ จะได้แบ่งเบาการทำลายลงไปได้บ้าง ถ้าปลูกในภาชนะจำกัดเก็บทิ้งง่ายหอยจะเป็นตัวบอกว่า น้ำเสียหรือยังถ้าน้ำเสียหอยจะลอยมาเกาะตามผนังภาชนะ ณ จุดผิวน้ำเพื่อหาอากาศหายใจแสดงว่าอ๊อกซิเย่นในน้ำไม่มี น้ำเสียแล้วควรรีบแก้ไข
9. วัชพืช
เป็นปัญหาที่ใหญ่ของการปลูกบัวในบ่อดิน หญ้ามิใช่วัชพืชหลักเพราะเมื่อถอนทิ้งไปแล้วก็หมดไปโดยเฉพาะน้ำมากและ ลึกพอควรที่เป็นปัญหาหลักคือสาหร่ายมี 2-3 ชนิด เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายวุ้น สาหร่ายไปและสาหร่ายฝอย สาหร่ายหางกระรอกปราบยากที่สุดเพราะเปาะเมื่อถูกถอนมันจะขาดส่วนที่ขาดจะลอยและไปขยายพันธุ์ต่อที่อื่น สาหร่าย วุ้นยากเป็นที่ 2 เพราะลื่นและหลุดขาดออกจากกันง่ายเช่นเดียวกับสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายเส้น หรือสาหร่ายฝอย เก็บปราบง่ายที่สุดเพราะไม่ค่อยขาดถอนหรือเก็บได้ทั้งกระจุกแต่จะร้ายที่สุด เพราะมักจะไปพันบัวเสียจนยอดบัวเจริญ ขึ้นมาได้ ลูกบัวและก้านบัวต้นเล็ก ๆ ที่งอกจากเมล็ดจากอุบลชาติประเภทล้มลุกทั้งพวกบานกลางวันและบานกลางคืน คือบัวผัน บัวเผื่อน และบัวสายเป็นปัญหามากที่สุดและไม่รู้จักจบสำหรับการปลูกในบ่อดินที่ปลูกอุบลชาติประเภทนี้ ต้อง เก็บกันเป็นประจำทุก ๆ 2-3 สัปดาห์ เพราะนอกจากจะทำให้บ่อบัวรกไม่สวยงามแล้ว ยังแย่งแร่ธาตุอาหารจากบัวที่ปลูก อีกด้วย วิธีแก้คือต้องขยันหมั่นเก็บดอกแก่ทิ้งก่อนติดเมล็ดถ้าปลูกบ่อใหม่และคิดว่าจะเก็บไม่ทัน และปลูกหลายบ่อแนะนำ ให้แยกปลูกอุบลชาติประเภทยืนต้นไว้บ่อหนึ่ง ล้มลุกอีกบ่อหนึ่ง เก็บลูกบัววัชพืชเฉพาะบ่อปลูกประเภทล้มลุกบ่อเดียว
10. ฟักตัวในฤดูหนาว
อุบลชาติประเภทยืนต้นหรือบัวฝรั่งหลายพันธุ์ และอุบลชาติประเภทล้มลุกบานกลางวัน หรือบัวผัน บัวเผื่อนที่นำมาจาก ต่างประเทศบางพันธุ์จะหยุดการเจริญเติบโตผลิตใบหนา ก้านใบสั้น จมอยู่ใต้น้ำในฤดูหนาวแก้โดยเพิ่มความร้อนและ แสงให้ หรือโดยการลดความลึกของระดับน้ำในบ่อที่ปลูกก่อนเข้าฤดูหนาว 1 เดือน (ประมาณกลางเดือนตุลาคม) โดย ลดระดับน้ำให้เหลือ 15-20 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือยกอ่างปลูกให้อยู่ใกล้ผิวหน้าของน้ำตามเกณฑ์ดังกล่าว
11. ปลูกบัวพันธุ์ไหนที่เหมาะสมกับสถานที่และภาชนะที่ปลูก
เป็นหัวใจของการดูและรักษาเพราะถ้าชนิดพันธุ์ไม่เหมาะสมแก่สถานที่ที่จะดูแลรักษาอย่างไรก็ไม่โต ในปัจจุบันพันธุ์ ที่มีจำหน่ายผู้ขายและผู้ปลูกควรรู้จักพันธุ์ว่าชนิดใดชอบน้ำตื้นน้ำลึก ที่ปลูกควรกว้างหรือแคบแค่ไหนผู้ผลิตพันธุ์ออกมา จำหน่ายจะต้องบอกได้ว่าบัวพันธุ์นั้น ๆ ต้องการที่ปลูกอย่างไร
12. อย่าให้อดอาหารและอย่าให้กินจนเป็นโรคท้องมาร
ใส่ปุ๋ยบำรุงตามความจำเป็นถ้าใส่มากเกินไปน้ำจะเขียว ปุ๋ยสูตรสมดุล10-10-10, 12-12-12, 15-15-15 หรือ 16-16-16 ห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ 2 ชั้น หรือปั้นเอาดินเหนียวหุ้มปริมาณเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตของผู้ปลูกเพราะผู้ปลูกแต่ละ รายปลูกในภาชนะขนาดแตกต่างกัน การให้ปุ๋ยแต่ละครั้งต้องหมั่นสังเกตถ้าน้ำเขียว ตะไคร่ สาหร่ายขึ้นเร็วแสดงว่าให้ปุ๋ย มากเกินไปควรลดปริมาณหรือความถี่ในการให้ปุ๋ยลง
13. เลี้ยงปลาที่ไม่กินพืช
เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด หรือปลากัด เพราะจะช่วยกินลูกน้ำ
14. อย่าให้บัวขยายพันธุ์จนแน่นในภาชนะเดียวกัน
บัวฝรั่งจะแตกต่าง บัวสาย บัวหลวง จะแตกไหลไปขึ้นต้นใหม่ บัวผันหรือบัวสายเกิดเมล็ดงอกเป็นต้นใหม่แน่นภาชนะ ให้เอาออกเพราะหากแน่นมากไปต้นจะไม่ออกดอก
15. อย่าปลูกบัวหลายพันธุ์ในภาชนะเดียวกัน
ต้นจากพันธุ์ที่แข็งแรงโตเร็วจะเบียดต้นอ่อนแอจนตายไปในที่สุด
16. บัวฝรั่ง บัวหลวง เจริญตามแนวนอน
ถ้าพุ่งชนภาชนะเมื่อไรจะชงักการเจริญเติบโต หักเหง้าหรือไหลให้ยอดหันกลับทางกลางอ่างหรือบ่อ
17. ไม่จำเป็นอย่าถ่ายน้ำในบ่อบัว
เพราะจะเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมจากที่บัวเคยชิน บัวจะไม่งาม ถ้าจำเป็นจะต้องถ่ายควรถ่ายออกครึ่งหนึ่งเก็บไว้ ครึ่งหนึ่งจะเป็นการดี
18. เปลี่ยนดินปลูกใหม่
ควรเปลี่ยนเมื่อรากแน่นภาชนะที่ปลูกและถ้าปลูกในภาชนะที่จำกัดหรือถ้าปลูกในบ่อและนาน ๆ หลาย ๆ ปี ก็น่าต้องเปลี่ยน หน้าดินเหมือนกัน

ที่มาของข้อมูล
suksusee.wordpress.com